วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อิอฺติกาฟ



โดยนิยามแล้ว อิอฺติกาฟ หมายถึง การที่บุคคลพยายามเก็บตัวอยู่ในมัสยิดอย่างสงบตามวิธีการที่ได้กำหนดไว้ เป้าหมายสำคัญก็คือ
 - เพื่อปลีกตัวออกจากภารกิจทางโลก และครอบครัวอันมากมาย สู่การแสวงความผ่องแผ้วแห่งจิตวิญญาณเสริมสร้างพลังและศักยภาพเพื่อเป็นกลไก ที่จะเอื้ออำนวยให้กิจกรรมต่างๆ ในการดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่นและดียิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การถือศีลอดในทัศนะทางการแพทย์


อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในสูเราะฮฺ  อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 183 ว่า

«يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ» (البقرة/183)
มีใจความว่า โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย  การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติแก่พวกเจ้า  ดังเช่นได้ถูกบัญญัติแก่ประชาชาติก่อนเจ้า  เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง” ( 2/183 )

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

150 ประตูแห่งความดี แด่...ผู้มีชีวีถึงเราะมะฎอน


อัลฮัมดุลิลลาฮฺ  วัศเศาะลาตุวัสลาม  อะลาคอตะมิลอัมบิยาอฺวัลมุรซาลีน  นบิยฺยินามุฮัมมัด  วะอะลาอาลิฮี  วะเศาะฮฺบิฮีอัจญมาอีน
พวกเราจำเป็นต้องมีหุ้นส่วนในการร่วมฟื้นฟูเดือนอันยิ่งใหญ่เดือนเราะมะฎอน  เดือนแห่งการอภัยโทษและความพอพระทัย  ซึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า:
«شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآَنُ هُدًى لِلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الْهُدَى وَالْفُرْقَانِ فَمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ»
  เดือนเราะมะฎอนเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาเป็นข้อแนะนำสำหรับมวลมนุษยชาติ  และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น  และเป็นสิ่งที่มาจำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ  ดังนั้นผู้ใดจากกลุ่มพวกท่านเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้วก็จงถือศิลอด...  (อัลบากอเราะฮฺ  :185)

วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ชะอฺบาน ประตูสู่ เราะมะฎอน


อัลหัมดุลิลลาฮฺ มวลการสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิแห่งอัลลอฮฺ เศาะละวาตและสลามต่อเราะซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน ตลอดจนผู้ที่เจริญรอยตามแบบอย่างของท่านจวบจนวันกิยามะฮฺ

1. ความหมายของคำว่าชะอฺบาน
คำว่า ชะอฺบาน เป็นคำเอกพจน์ คือชื่อหนึ่งในบรรดาชื่อเดือนของอิสลาม เป็นเดือนลำดับที่ 8 ตามปฏิทินอิสลาม อยู่ระหว่างเดือนเราะญับกับเดือนเราะมะฎอน
ส่วนสาเหตุที่เรียกเดือนนี้ว่า ชะอฺบาน เป็นเพราะในเดือนนี้ชาวอาหรับจะกระจายกันออกไปหาน้ำ หรือกระจัดกระจายกันออกไปทำสงคราม (มาจากรากศัพท์เดิมของคำว่า  الْقَوْمُ تَشَعَّبَ  (อ่านว่า ตะชะอะบะ อัลเกามุ) أي تفرق หมายถึง แยกย้าย หรือกระจัดกระจายออกไป) (ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม4 หน้า 251 ) หลังจากที่พวกเขาได้หยุดพักจากการทำสงครามในเดือนเราะญับเพราะเป็นเดือนหะรอมหรือเดือนต้องห้ามทำสงคราม
อุละมาอ์บางท่านระบุว่า สาเหตุที่เรียกเช่นนั้น เพราะเดือนนี้ปรากฏอยู่ช่วงกลางระหว่างเดือนเราะญับกับเดือนเราะมะฎอน (มาจากรากศัพท์เดิมของคำว่า الشَّعَبُ  อ่านว่า อัชชะอะบุ หมายถึง ช่วงที่อยู่ระหว่างสองไหล่ หรือสองเขาสัตว์)

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

                                       

       องค์ประกอบสำคัญในการทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ รศ.ดร.อารี พันธ์มณี อดีตอาจารย์จากภาคการแนะนำและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) แนะนำไว้ว่าต้องเริ่มจาก ผู้สอนและผู้เรียนหรือครูกับศิษย์หากปราศจากผู้สอนกับผู้เรียนแล้ว บรรยากาศแห่งการเรียนการสอนคงไม่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศการเรียนที่สนุกสนาน กระตือรือร้น ยั่วยุ ท้าทาย ให้อยากเรียนหรือบรรยากาศที่น่าเบื่อ เซ็ง เครียด ไม่อยากเรียน  ทั้งผู้สอนและผู้เรียนต่างก็มีบทบาทสำคัญในการสร้างบรรยากาศดังกล่าว โดยครูจะเป็นผู้เริ่มสร้างบรรยากาศ ผู้เรียนก็จะเป็นคนตอบสนองและเติมสีสันให้กับบรรยากาศการเรียนการสอนให้เป็นไปในรูปแบบต่างกัน บรรยากาศการเรียนการสอนที่เป็นอิสระ ท้าทาย ตื่นเต้น ปลอดภัย เป็นประชาธิปไตย หรือบรรยากาศการเรียนการสอนที่ไม่มีชีวิตชีวา กังวล กระวนกระวายใจ เครียด ตื่นกลัว เคร่งครัด เผด็จการ หรือบรรยากาศการเรียนการสอนที่ราบเรียบ เฉื่อยๆ ชวนง่วงนอน เหล่านี้ต่างก็เป็นบรรยากาศที่เกิดขึ้นในห้องเรียน

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โรงเรียนหรือบ้านเรียน





เสียงร้องไห้ของเด็กวัยอนุบาลอาจยังคงดังก้องในโสตประสาทของคุณแม่ อาจเป็นเสียงเล็กๆ แต่ก็กระชากหัวใจผู้เป็นแม่อยู่ไม่น้อยเลยล่ะคะ อดสงสารไม่ได้ที่เห็นเด็กๆ 3-5 ขวบร้องร่ำหาคนใกล้ชิด ก็เด็กๆ เค้าไม่อยากห่างพ่อแม่ผู้ที่เค้าอุ่นใจและปลอดภัยยามอยู่ด้วยนี่หน่า เทศกาลเปิดเทอมใหม่ โรงเรียน(รร.) ก็ยังเป็นสถานที่แปลกหน้า เพื่อนใหม่ คุณครูใหม่ เรียกว่าแวดล้อมด้วยของใหม่หมดเลย

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

งานมุสลิมะฮฺสัมพันธ์ ฮ.ศ.1432 / 2554

งานมุสลิมะฮฺสัมพันธ์ ฮ.ศ.1432 / 2554






ณ มหาวิทยาลัยอิสลาม บ้านโสร่ง  ต.เขาตูม  อ.ยะรัง  จ.ปัตตานี
Yala Islamic University, Thailand

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คิดนอกกรอบ


มีคนจำนวนมากคิดว่า อิสลาม เป็นเช่นเดียวกันกับศาสนาทั่วๆไปคือ มุ่งเน้นให้ผู้นับถือขัดเกลาจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากการตกเป็นข้าทาสของกิเลสตัณหา 

          ความจริงแล้ว อิสลามมีองค์ประกอบ ของหลักคำสอนทางศาสนา และหลักการดำเนินชีวิต ถ้าหากจะพูดง่ายๆ ก็คือ อิสลามมีหลักธรรมให้มนุษย์ได้เชื่อมั่นศรัทธา ยึดถือปฏิบัติ และดำรงจริยธรรมที่ดีงาม นำบุคคลสู่การประกอบความดี และเป็นเกราะกำบังมิให้บุคคลประพฤติชั่ว ก่อความเสื่อมเสีย และสร้างความหายนะบนหน้าแผ่นดิน ขณะเดียวกันก็มีหลักให้มนุษย์ได้ดำรงชีวิตในโลกนี้ด้วยความสงบสุข ดังนั้น บัญญัติอิสลามจึงประมวลไว้ซึ่งระบบปกครอง ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม ส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามแต่ความสามารถ และถนัดของผู้เรียน และมีหลัก
ธรรมาภิบาล 


วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

คุณลักษณะนิสัยที่ดี

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ



            มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ การสรรเสริญและความศานติจงมีแต่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียว โดยไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
อนึ่ง  โดยแน่นอน หนึ่งในการงานที่ประเสริฐยิ่งที่ศาสนาได้เรียกร้องและแนะนำ นั่นคือ “การมีคุณลักษณะนิสัยที่ดี” เพราะมันคือหนึ่งในจำนวนของขวัญอันยิ่งใหญ่ที่อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่บ่าวของพระองค์
            อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้พรรณนาถึงท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไว้ว่า
﴿وَإِنَّكَ لَعَلى خُلُقٍ عَظِيمٍ﴾
ความว่า และแท้จริง เจ้านั้นอยู่บนคุณลักษณะนิสัยอันยิ่งใหญ่ (สูเราะฮฺ อัล-เกาะลัม : 4)
          

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

มุสลิม กับ วันปีใหม่


วันที่ 31 ธันวาคมเป็นวันสิ้นปี ต่อเนื่องกับ วันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามสากลนิยม ประชาชนทุกชาติทุกภาษาจะมีการเฉลิมฉลองในวันนี้
ในครั้งโบราณต่างชาติต่างก็ขึ้นปีใหม่กันตามความนิยมของตนที่เห็นว่าวันปีใหม่ควรจะเป็นวันไหน เช่น ต้นฤดูหนาวเพราะเป็นเวลาพ้นจากมืดฝน สว่างขึ้นเหมือนเวลาเช้า เป็นต้น, ฤดูร้อนเป็นเวลาสว่าง ร้อนเหมือนเวลากลางวันเป็นกลางปี ฤดูฝนที่เป็นเวลามืดครึ้มโดยมากและฝนพร่ำเพรื่อเที่ยวไปไหนไม่ได้เป็นเหมือนกลางคืน ชาวเยอรมันสมัยโบราณแบ่งฤดู 2 ฤดู คือฤดูหนาวกับฤดูร้อน ขึ้นปีใหม่ราวปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นเวลาที่พื้นภูมิภาคกำลังเริ่มเย็นขึ้นเป็นลำดับ ประชาชนซึ่งแยกย้ายกันไปหากินในที่ต่างๆ ตั้งแต่ในฤดูร้อนได้เก็บเกี่ยวพืชผลที่ทำได้และนำขึ้นยุ้งฉางเสร็จแล้ว ก็มาร่วมชุมนุมกันฉลองขึ้นใหม่ เมื่อชาวโรมันได้รุกรานเข้าไปในอาณาเขตเยอรมัน จึงได้เลื่อนการฉลองปีใหม่มาเป็น 1 มกราคม