วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ถือศิลอดอาชูรออ์


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

ส่งเสริมให้ถือศีลอดวันที่เก้า (ตาสูอาอ์) พร้อมกับวันที่สิบ (อาชูรออ์)

คำถาม:
ฉันประสงค์ที่จะถือศีลอดวันอาชูอรออ์ในปีนี้ และก็มีบางคนได้บอกแก่ฉันว่าที่เป็นสุนนะฮฺคือการที่ฉันถือศีลอดก่อนหน้านั้นหนึ่งวันพร้อม ๆ กับการถือศีลอดวันอาชูรออ์ ดังกล่าวนี้มีอ้างอิงจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ให้ปฏิบัติเช่นนั้นหรือไม่ ?




คำตอบ:
อัลหัมดุลิลลาฮฺ, ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมาเล่าว่า:


حِينَ صَامَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَوْمَ عَاشُورَاءَ وَأَمَرَ بِصِيَامِهِ قَالُوا يَا رَسُولَ اللهِ إِنَّهُ يَوْمٌ تُعَظِّمُهُ الْيَهُودُ وَالنَّصَارَى فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «فَإِذَا كَانَ الْعَامُ الْمُقْبِلُ إِنْ شَاءَ اللهُ صُمْنَا الْيَوْمَ التَّاسِعَ» قَالَ فَلَمْ يَأْتِ الْعَامُ الْمُقْبِلُ حَتَّى تُوُفِّيَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ


ความว่า: เมื่อครั้งเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ถือศีลอดในวันอาชูรออ์และท่านได้สั่งใช้ให้ผู้คนได้ถือศีลอดนั้น ปรากฏว่ามีเศาะหาบะฮฺได้กล่าวแก่ท่านว่า "โอ้เราะสูลุลลอฮฺ แท้จริงมันคือวันที่ชาวยิวและชาวคริสต์เทิดทูนมัน" ดังนั้นท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า: "เมื่อถึงปีหน้า อินชาอัลลอฮฺ พวกเราจะถือศีลอดวันที่เก้าด้วย" ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า: "และไม่ทันที่ปีหน้าจะมาถึง ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ก็เสียชีวิต" [บันทึกโดยมุสลิม, เลขที่: 1916]


ท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์และบรรดาสหายของท่าน อิมามอะหฺมัด อิสหาก และอุละมาอ์ท่านอื่น ๆ กล่าวว่า: "ส่งเสริมให้ถือศีลอดวันที่เก้าและวันที่สิบด้วยกัน เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ถือศีลอดวันที่สิบ และได้ตั้งใจที่จะถือศีลอดวันที่เก้า"
และด้วยประการนี้ ระดับการถือศีลอดวันอาชูรออ์ที่ต่ำที่สุดคือการถือศีลอดวันที่สิบเพียงวันเดียว และที่ดีกว่านั้นคือการถือศีลอดวันที่เก้าด้วย และหากถือศีลอดให้มากในเดือนมุหัรฺร็อมก็ถือว่าประเสริฐกว่าและดีกว่า
และหากท่านจะถามว่า: อะไรคือวิทยปัญญาที่ให้ถือศีลอดวันที่เก้าพร้อม ๆ กับการถือศีลอดวันที่สิบด้วย ?
คำตอบคือ ท่านอิมามอัน-นะวะวีย์ เราะฮิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า: บรรดาอุลุมาอ์ในมัซฮับของเราและอุละมาอ์ท่านอื่น ๆ ได้ระบุถึงวิทยปัญญาหลายประการที่ส่งเสริมให้ถือศีลอดวันที่เก้าด้วยดังนี้
1. เพื่อเป็นการขัดแย้งกับการปฏิบัติของชาวยิวที่ถือศีลอดเฉพาะวันที่สิบ และนี่คือรายงานจากท่านอิบนุอับบาส
2. เพื่อเป็นการต่อการถือศีลอดวันอาชูรออ์ด้วยกับการถือศีลอดอีกวันหนึ่ง ดังที่ได้ห้ามการศีลอดเฉพาะวันศุกร์วันเดียว
3. เพื่อเป็นการเผื่อในการถือศีลอดวันที่สิบ กล่าวคือเกรงว่าเดือนจะขาด และอาจเกิดความผิดพลาด ดังนั้นวันที่เก้าอาจจะเป็นวันที่สิบ
และทรรศนะที่มีน้ำหนักมากที่สุดคือ เพื่อเป็นการขัดแย้งกับชาวคัมภีร์ ท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมิยะฮฺ เราะฮิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า: "ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามการเลียนแบบชาวคัมภีร์ซึ่งมีรายงานในบรรดาหะดีษมากมาย ดังเช่นคำกล่าวของท่าน...เกี่ยวกับวันอาชูรออ์ว่า: "หากฉันยังมีชีวิตถึงปีหน้า แน่นอนยิ่งฉันจะถือศีลอดในวันที่เก้าด้วย" [อัล-ฟะตาวา อัล-กุบรอ, เล่มที่: 6]
ท่านอิบนุหะญัรฺ เราะฮิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ในการอรรถาธิบายหะดีษ  "หากฉันยังมีชีวิตถึงปีหน้า แน่นอนยิ่งฉันจะถือศีลอดในวันที่เก้า" ว่า: "การที่ท่านปราถนาจะถือศีลอดในวันที่เก้า ความหมายของมัน อาจหมายถึงว่าการไม่ได้เจาะจงถือศีลอดเฉพาะวันที่เก้า แต่หมายถึงการถือศีลอดวันที่สิบด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเผื่อ หรือไม่ก็เพื่อเป็นการขัดแย้งกับชาวยิวและคริสต์ และนี่คือทรรศนะที่มีน้ำหนักมากกว่า และคือข้อบ่งชี้ในบางรายงานของอิมามมุสลิม" [ฟัตหุลบารีย์, 4/245]

คำตอบโดย เว็บ อิสลามถามตอบ
http://www.islam-qa.com/ar/ref/21785
ขอขอบคุณ www.islamhouse.com

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

มุสลิมกับวันคริสต์มาส

คัดลอกจากหนังสือ ทำไมมุสลิมจึงทำไม่ได้

ของ อ.มุรีด ทิมะเสน


วันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของศาสนาคริสต์ เป็นวันเฉลิมฉลองเพื่อระลึกถึงวันประสูติของพระเยซู คริสตศาสนิกชนทุกนิกายจัดพิธีนี้มาจนเป็นประเพณีนิสัยสืบมาจนทุกวันนี้

ความเป็นมาของวันคริสต์มาส

ก. วันคริสต์มาสหรือวันคริสตสมภพ คือวันที่พระเยซูลงมาบังเกิดลงมาในโลกมนุษย์เมื่อประมาณ 4 ปี ก่อนคริสตศักราชเพื่อมา ไถ่บาปของมนุษย์ทุกคนที่กระทำบาป บิดาคือโจเซฟ มารดาคือมาเรีย สถานที่ประสูตรคือเมืองเบธเลเฮม ประเทศอิสราเอล คริสเตีอนถือว่าวันนี้เป็น วันที่สำคัญมากโดยถือ ว่าวันที่ 24 ธันวาคมเป็นวันคริสต์มาสอีส ซึ่งมาจาก Chrismas Evening และ 25 ธันวาคมคือวันคริสต์มาส.......อ่านต่อคลิกลิงค์ข้างล่างนี้








ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลนี้  www.mureed.com

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ดูอา

ขอความสันติความเมตตา,ปราณี จากอัลลอฮฺจงประสบแด่พี่น้องทุกท่าน

สวัสดีน้องๆนักศึกษาที่รักทุกๆคน

          
                  แว้ปเดียวก็จะครบปีแล้ว  จะเห็นว่า ปีหนึ่งๆนั้นช่างรวดเร็วเหลือเกิน บางคนก็ยังไม่ทันทำอะไรหรือได้ทำแต่ผลยังไม่ได้ตามเป้าที่ได้ตั้งไว้ หรือมากกว่านั้น บางท่านเพียงแต่ได้คิด แต่ไม่ลงมือทำ...เพราะไม่รู้ว่าจะลงมือทำเมื่อไร.  เอาเถิดครับ  ผมจะไม่ร้องขอน้องๆนักศึกษาที่รักทั้งหลายให้เปลี่ยนแปลงโลกเช็กเช่นยอดมนุษย์ เขาทำกัน หรือร้องขอให้น้องๆเปลี่ยนแปลงตนเองจากหน้ามือเป็นหลังมือ หากแต่จะเชิญชวนน้องๆ มาทำสิ่งง่ายๆที่ใครก็สามารถทำได้ นั้นคือ การท่องดูอา สมมุติเราท่องดูอาอาทิตย์ละ 1 บท ปีหนี่งเราจะจำดูอามากถึ่ง 48 บท...! 

                 จะเป็นการดีมากถ้าได้จด ดูอา ที่เราสนใจไว้อ่านตอนไหนก็ได้ที่เราอยากจะอ่านและหัดเขียนเพื่อให้จำง่ายขึ้นและจำได้นานๆ...  ถ้าพร้อมแล้วก็คลิกตามลิงค์ต่อไปนี้ครับ


                   หวังว่าน้องๆจะได้รับขอแนะนำเล็กๆนี้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อเราเองทั้งในโลกนี้และโลกหน้า อินซาอัลลอฮฺ



                  
                   ท้ายนี้ ขอขอบคุณเว็บไซต์ http://www.mureed.com/ ที่เอื้อสื่อความรู้ข้างต้นนี้ ขออัลลอฮฺ ทรงตอบแทนท่านและทีมงานด้วย  อามีน...

วัสสาลาม

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อิสลาม กับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ

หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม สำหรับทั้งคนที่ไม่ใช่มุสลิม หรือคนที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และมุสลิมที่ต้องการแนวคำตอบไว้สำหรับตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับอิสลามในเรื่องพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้อ่านเป็นคนต่างศาสนิกก็จะทำให้คุณรู้จักศาสนาอิสลามมากขึ้นในระดับหนึ่ง




หนังสือของชาวต้นไม้นี้ เดิมเป็นรูปแบบการตอบคำถามแบบสั้นๆกะทัดรัด ส่วนฉบับนี้ได้มีการปรับปรุงให้มีเนื้อหาสาระมากขึ้นสำหรับผู้ที่มีเวลาอ่านและสนใจจะหาคำตอบที่เคลือบแคลงใจ โดยทั้งสองฉบับได้มีการพิมพ์เป็นครั้งที่สองแล้ว เนื่องจากว่ามีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ข้างล่าง

http://mureed.com/article/Islam_book/islam_basic.htm

ขอขอบคุณผู้ดูแลเว็บไซต์  http://www.mureed.com/