โรงเรียนอะห์มาดีวิทยามูลนิธิ AHMADI VITTAYA FOUNDATION SCHOOL مؤسسة الدعوة والإرشاد
ประวัติความเป็นมาโรงเรียนอะห์มาดีวิทยามูลนิธิ
๏ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๐๔ ได้รับหนังสือแสดงการรับจดทะเบียนจัดตั้งปอเนาะสอนศาสนาเพียงอย่างเดียว
๏ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๗ ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนราษฎร์
( แปรสภาพมาจากปอเนาะ ) ตามใบอนุญาตเลขที่ ๒๕/๒๕๑๗
๏ นายหะยีปะดอมะ วาโซะ เป็นผู้รับใบอนุญาต (เจ้าของ) ผู้จัดการและครูใหญ่ ได้ทำการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากเดิม โรงเรียนปอเนาะบ้านคูระ มาเป็นโรงเรียนอะห์มาดียะห์วิทยา
๏ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๑๗ นายหะยีปะดอมะ วาโซะ ได้ถึงแก่กรรม ( ตามหลักฐานใบมรณะบัตร ) และได้โอนกิจการของโรงเรียนให้กับนายอาหมัดเผ่าศรี วาโซะ
ซึ่งมีฐานะเป็นบุตรดำเนินการต่อไป
๏ เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๒๙ โรงเรียนอะห์มาดีวิทยาได้แต่งตั้ง
นายมะยูโซ๊ะ เจะบู เป็นผู้จัดการโรงเรียนฯ
๏ เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ โรงเรียนอะห์มาดีวิทยาได้แต่งตั้ง
นายอุลิมาน บือซา เป็นครูใหญ่ โรงเรียนอะห์มาดีวิทยา
๏ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๓ ได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาศาสนาตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปรับปรุงส่งเสริมโรงเรียนปอเนาะ
ในเขตการศึกษา ๒ โดยมีการเปิดสอนวิชาศาสนาตั้งแต่ ชั้นปีที่ ๑ ถึงชั้นปีที่ ๔
มีพระราชกฤษฎีกาตั้ง “กิ่งอำเภอแม่ลาน” ขึ้นเป็น “อำเภอแม่ลาน” ตามประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๓๒ ก ลงวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ โดยมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ( ๗ กันยายน ๒๕๓๘ )
โรงเรียนอะห์มาดียะห์วิทยาจึงอยู่ในเขตของอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
๏ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๓ โรงเรียนอะห์มาดีวิทยาได้จำหน่าย
นายมะยูโซ๊ะ เจะบู ออกจากการเป็นผู้จัดการโรงเรียนเนื่องจากนายมะยูโซ๊ะ เจะบู
ไปประกอบอาชีพอื่น
๏ เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ โรงเรียนอะห์มาดีวิทยาได้แต่งตั้ง
นายอับดุลฮามิ เจะแว เป็นผู้จัดการโรงเรียน
๏ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ได้รับอนุญาตแก้ไขชื่อจาก “โรงเรียนอะห์มาดียะห์วิทยา” เป็น “โรงเรียนอะห์มาดีวิทยา” โดยนายอาหมัดเผ่าศรี วาโซะ
เป็นผู้รับใบอนุญาต
๏ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบการโรงเรียนอะห์มาดีวิทยา จากระเบียบการเดิม พ.ศ. ๒๕๑๗ มาใช้ระเบียบการใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๕
๏ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๕ โรงเรียนอะห์มาดีวิทยาได้รับอนุญาตให้เพิ่มหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช ๒๕๒๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๓) และได้รับใบอนุญาตเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นรวมทั้งหลักสูตรอิสลามศึกษามาจนถึงปัจจุบันนี้
๏ เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๕ โรงเรียนอะห์มาดีวิทยาได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงสภาพโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจากมาตรา ๑๕ (๒) เป็นมาตรา ๑๕ (๑) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.๒๕๒๕
๏ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๖ โรงเรียนอะห์มาดีวิทยาได้รับอนุญาตขยายหลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้น (อิบติดาอียะฮ์) ถึงหลักสูตรอิสลามศึกษาตอนกลาง
(มุตะวัซซีเตาะฮ์ )
๏ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๗ โรงเรียนอะห์มาดีวิทยาได้รับอนุญาตขยายหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ในช่วงชั้นที่ ๔ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖
๏ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๗ โรงเรียนอะห์มาดีวิทยาได้จำหน่ายนายอุลิมาน บือซาออกจากตำแหน่งครูใหญ่และได้แต่งตั้งนายอับดุลฮามิ เจะแว
ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นต้นไป
๏ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ โรงเรียนอะห์มาดีวิทยามูลนิธิได้พิจารณาแต่งตั้ง นายมูฮำหมัดจุนดิลละห์ เจ๊ะแว ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ และแต่งตั้ง นายนิมาโซ วาเด็ง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นต้นไป
---------------------------------------------------------------------------
หมวด ๑
ชื่อ ประเภท ระดับการศึกษา
ข้อ ๑ โรงเรียนนี้มีชื่อว่า โรงเรียนอะห์มาดีวิทยามูลนิธิ อักษรย่อ อ.ว.ม.
ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ AHMADI WITTAYA FOUNDATION
ชื่อเป็นภาษาอาหรับمؤسسةالدعوةوالارشاد
เปิดสอนประเภท โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ๑๕ (๑)
ระดับ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ช่วงชั้นที่ ๓) – มัธยมศึกษาตอนปลาย (ช่วงชั้นที่๔) และระดับมุตาวัซซีเตาะห์ – ระดับซานาวียะห์
ความจุนักเรียนสูงสุด ๓๓๕ คน
ข้อ ๒ ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๓๒/๑๐ หมู่ที่ ๒ ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
โทรศัพท์ ๐๘๙ ๘๗๘๙๒๗๒, ๐๘๖ ๔๘๘๗๐๗๓, ๐๘๔ ๖๗๓๒๘๕๑
ข้อ ๓ เครื่องหมาย/ตราของโรงเรียน/สีประจำโรงเรียน/ต้นไม้ประจำโรงเรียน
๓.๑ เครื่องหมาย/ตราของโรงเรียน คือ
วงกลม หมายถึง ความสมบูรณ์ของศาสนาอิสลาม
หนังสือ หมายถึง อัลกุรอานซึ่งเป็นทางนำที่นำมาซึ่งความรู้ในการดำรงชีวิต
หออาซาน หมายถึง สถานที่ประกาศทางนำและเรียกร้องมนุษย์ให้ปฏิบัติการดี และละเว้นการปฏิบัติไม่ดี
๓.๒ สีประจำโรงเรียน คือ เขียว - สีขาว
สีเขียว คือ ความเจริญงอกงาม สายใยแห่งปัญญา และความเป็นผู้นำของนักเรียน
สีขาว คือ ความบริสุทธิ์ของอิสลาม
๓.๓ ต้นไม้ประจำโรงเรียน คือ ต้นพิกุล (Tanjong Tree)
ต้นพิกุล เป็นสัญลักษณ์ของมุสลิมในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้นพิกุล มีดอกสีขาวนวลเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เปรียบประดุจความดีงามของนักเรียนโรงเรียนอะห์มาดีวิทยามูลนิธิ กลีบดอกเป็นจักร เปรียบประดุจความแหลมคมของปัญญา กลิ่นหอมกรุ่นเปรียบได้กับความดีงามที่ไม่มีวันจาง แม้เมื่อร่วงจากต้นลงสู่พื้นหรือไปอยู่ ณ ที่ใด ก็ยังคงความดีงามและสรรค์สร้างคุณูปการสู่สังคมสันติสุขตลอดกาล
ข้อ ๔ อักษรย่อของโรงเรียน คือ
อ.ว.ม. คือ อะห์มาดีวิทยามูลนิธิ
A.W.F คือ Ahmadi Wittaya Foundation
ข้อ ๕ ปรัชญาของโรงเรียน
ศาสนาเด่น เน้นคุณธรรม นำปัญญา
ศาสนาเด่น หมายถึง ศาสนาอิสลามเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวมุสลิม การมีความรู้เรื่องศาสนา อิสลาม สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ถูกต้อง และสามารถถ่ายถอด ความรู้ให้ผู้อื่นได้
เน้นคุณธรรม หมายถึง การมีความรู้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อพัฒนาจิตใจของคนเราให้มีคุณธรรม และอยู่
นำปัญญา หมายถึง การนำความรู้ที่ดีงามใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางที่ถูกต้องต่อตนเองและสังคม