วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

GAT - PAT IN MEANING...

มารู้จัก GAT กันก่อน


สำหรับ GAT หรือ General Aptitude Test เป็นการทดสอบความถนัดทั่วไป โดย ข้อสอบ GAT จะแบ่งออกเป็นการทดสอบการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 50% และทดสอบการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ อีก 50%

ลักษณะของ ข้อสอบ GAT จะมีทั้งปรนัย และอัตนัย เน้นความซับซ้อนมากกว่าความยาก โดยข้อสอบ GAT จะจัดสอบปีละ 3 ครั้ง คือเดือนมีนาคม กรกฎาคม และตุลาคม โดยสามารถเลือกสอบครั้งไหนก็ และเมื่อสอบ GAT แล้ว สามารถเก็บคะแนน GAT ไว้ได้ 2 ปี เพื่อเลือกใช้คะแนน GAT ที่ดีที่สุดในคิดคะแนนยื่นเข้ามหาวิทยาลัย

มารู้จัก PAT กันบ้าง

สำหรับ PAT คือ Professional Aptitude Test เป็นการสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ แบ่งข้อสอบออกเป็น 7 ชุด คือ

PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์ เนื้อหา ข้อสอบ PAT เช่น เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น, ตรีโกณมิติ, แคลคูลัส ฯลฯ

PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหา ข้อสอบ PAT เช่น ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, Environment, ICT ฯลฯ

PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรมศาสตร์ เนื้อหา ข้อสอบ PAT เช่น Engineering Mathematics, Engineering Sciences, Life Sciences, IT ฯลฯ

PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ เนื้อหา ข้อสอบ PAT เช่น Architectural Math and Science ฯลฯ

PAT 5 วัดศักยภาพทาง ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เนื้อหา ข้อสอบ PAT เช่น ภาษาไทย, สังคมวิทยา, มานุษยวิทยา, สุขศึกษา, ศิลปะ, สิ่งแวดล้อม, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ ฯลฯ ลักษณะข้อสอบเน้นความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ

PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์ เนื้อหา ข้อสอบ PAT เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทาง ศิลป์ ฯลฯ โดยจะเน้นเชิงความคิดสร้างสรรค์

PAT 7 วัดความถนัดทางภาษาต่างประเทศ แบ่งเป็น 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ และ 7.6 ความถนัดทางภาษา โดย ข้อสอบ PAT ความถนัดด้านภาษาต่าง ๆ นั้น จะเน้นเนื้อหาเรื่องไวยากรณ์, คำศัพท์ ฯลฯ

ทั้งนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องสอบทุก PAT ให้เลือกสอบเฉพาะ PAT ที่จะนำไปใช้ในการเลือกเข้าเรียนในคณะที่ตนเองต้องการเท่านั้น

สำหรับลักษณะ ข้อสอบ PAT จะเป็นทั้งปรนัย และอัตนัย โดยผู้ที่เข้าสอบต้องเป็นนักเรียนชั้น ม.5 ขึ้นไป ทั้งนี้ การสอบ PAT จะจัดสอบปีละ 3 ครั้ง คือประมาณเดือนมีนาคม กรกฎาคม และตุลาคม สามารถเลือกสอบกี่ครั้งก็ได้ เช่นเดียวกับการสอบ GAT และเก็บคะแนนไว้ได้ 2 ปี เพื่อเลือกคะแนนที่ดีที่สุดเช่นกัน

คะแนน GAT-PAT ใช้ทำอะไร

เมื่อสอบ GAT-PAT แล้ว คะแนน GAT-PAT ที่ดีที่สุดที่ได้มา จะถูกนำมาคำนวณรวมกับหลักเกณฑ์ที่ทาง ทปอ. กำหนดในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย โดยระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2553 นั้น ทาง ทปอ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่จะใช้คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาเรียนต่อในมหาวิทยาลัย โดยใช้องค์ประกอบ 4 อย่าง คือ

1. GPAX หรือ ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม ทั้ง 6 ภาคเรียน คิดคะแนน 20 %

2. คะแนนจากการสอบ O-NET 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คิดคะแนน 30 %

3. GAT ความถนัดทั่วไป คิดคะแนน 10-50 %

4. PAT ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ คิดคะแนน 0-40%

รวมสัดส่วนคะแนนทั้งหมด 100% ซึ่งคณะไหน มหาวิทยาลัยไหน จะกำหนดใช้คะแนน GAT-PAT ในสัดส่วนเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับสาขา คณะ และมหาวิทยาลัยนั้น ๆ

ทั้งนี้ การสอบ GAT-PAT ครั้งต่อไป จะเป็นการสอบ GAT-PAT ประจำปี 2553 ครั้งที่ 1 เปิดรับ สมัครสอบ GAT-PAT ระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน ถึง 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และจัดสอบระหว่างวันที่ 6-9 มีนาคม พ.ศ.2553 ประกาศผลสอบวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2553 โดยผู้ที่มีสิทธิ์สอบ GAT-PAT คือนักเรียนที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับชั้น ม.5 ขึ้นไป

และที่สำคัญในปี พ.ศ.2553 จะมีการเปลี่ยนแปลงการสอบ GAT-PAT จากเดิมกำหนดให้ 1 ปี มีสอบ GAT-PAT 3 ครั้ง แต่ปี พ.ศ.2553 จะเหลือการสอบ GAT-PAT เพียง 2 ครั้งเท่านั้น คือในเดือน มีนาคม พ.ศ.2553 กับเดือนตุลาคม พ.ศ.2553

รู้จัก GAT-PAT กันแล้ว ก็เตรียมตัวกันไว้ล่วงหน้าเลยได้เลย สำหรับใครที่จะต้องสอบ GAT-PAT ในรุ่นต่อ ๆ ไป เพื่อเป็นบันไดก้าวเข้าไปเป็นเฟรชชี่น้องใหม่ในมหาวิทยาลัย และที่สำคัญต้องติดตามข่าวคราวการศึกษาอยู่เสมอ ๆ เพราะสัดส่วนคะแนนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ต่าง ๆ กัน ในแต่ละปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น