ต่อมาพลีนี (Pliny หรือ Gaius หรือ Caius Plinius Secundus, ค.ศ.23-79, ถูกขนานนามว่า "พลีนีผู้อาวุโส" เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวโรมัน) ได้เขียนบันทึกเรื่องชนิดของสบู่อ่อนของชาวกอล (ชาวยุโรปโบราณอาศัยแถบเหนือของอิตาลี,ฝรั่งเศส,เบลเยี่ยม) แต่นักประวัติศาสตร์ต่างลงความเห็นว่าเป็น น้ำมันใส่ผมที่ทำมาจากไขมัน เมื่อผสมกับด่างแล้วไม่สามารถเป็นสบู่ได้
ในโลกยุคกลางได้มีการทำสบู่ในแถบทางตอนเหนือของยุโรป โดยใช้ถ่านจากไม้ผสมกับไขมันสัตว์และน้ำมันปลา เป็นสบู่เหลวที่มีกลิ่นเหม็น พวกเขาใช้สำหรับทำความสะอาดเสื้อผ้าและก็ไม่ได้ใช้ทำความสะอาดร่างกายกัน อย่างแพร่หลาย และโดยปกติชาวยุโรปก็มิได้ใช้สบู่ในการทำความสะอาดร่างกายเลย และไม่มีการปรับปรุงสูตรการทำสบู่อีกจนกระทั่งกลางศตวรรษที่ 18
ซีเรียเป็นแหล่งทำสบู่ก้อนที่มีชื่อเสียง ซึ่งใช้สำหรับทำความสะอาดร่างกาย นักโบราณคดีได้ขุดพบหลักฐานการทำสบู่ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 8 ส่วนนักภูมิศาสตร์ในศตวรรษที่ 10 ได้รายงานว่าเมือง 'นาบลุส' ในปาเลสไตน์ เป็นแหล่งส่งออกสบู่ที่โด่งดังมากของสมัยกลาง
สบู่ยังคงถูกผลิตขึ้นในดินแดนแถบเมดิเตอร์เรเนียนที่ตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของจักรวรรดิมุสลิม รวมทั้งอัล-อันดาลุส (สเปนภายใต้การปกครองของมุสลิม) ที่ซึ่งน้ำมันมะกอกหาได้ง่ายดายมาก ในช่วงปี 1200 ที่เมืองเฟซประเทศโมร็อคโค ซึ่งเป็นแหล่งที่ผลิตสบู่ถึง 27 ราย ในศตวรรษที่ 13 ยุโรปนำเข้าสบู่จากดินแดนมุสลิมในเมดิเตอร์เรเนียนและส่งข้ามเทือกเขาแอลป์ ไปยังยุโรปผ่านอิตาลี
ที่ยุโรปสมัยกลาง ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับการทำสบู่เลย ที่เก่าแก่ที่สุดก็เป็นงานเขียนในปี 1547 ชื่อ the Secret of Master Alexis of Piedmint
ในงานเขียนของอาหรับเราพบสูตรสั้นๆ ในผลงานด้านเคมีของอัล-ราซี นักวิทยาศาสตร์มุสลิมผู้ยิ่งใหญ่ที่โลกตะวันตกรู้จักในนาม 'ราเซส' ส่วนสูตรที่ละเอียดจริงๆ เป็นของ อัีล-อันตากี (Da'ud al-Antaki เสียชีวิตในปี 1599) แพทย์ชาวซีเรียในสมัยศตวรรษที่ 17
สบู่ที่แท้จริงแบบที่เราใช้กันในทุกวันนี้ถูกคิดค้นโดยชาวมุสลิมในยุค รุ่งโรจน์ของศิลปวิทยาการมุสลิมในสมัยกลาง พวกเขาใช้น้ำมันพืช (เช่น น้ำมันมะกอก) ผสมกับน้ำหอม (เช่นน้ำมัน Thyme) และ Lye (Al-Soda al-Kawia สารละลายน้ำของโซเดียมไฮดรอกไซด์) สูตรที่ใช้ทำสบู่ในตอนนั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลงอีกเลย และเหมือนกับสูตรที่ใช้ทำสบู่ที่เราใช้ทำความสะอาดร่างกายในทุกวันนี้ทุก ประการ
ช่วงศตวรรษที่ 7 เมืองหลักที่ผลิตสบู่ได้แก่ นาบลุส (ปาเลสไตน์) , คูฟา (อิรัก) , และบาสรา (อิรัก) สบู่ที่เรารู้จักในทุกวันนี้เป็นมรดกตกทอดมาจากสบู่อาหรับ (Arabian Soaps) เป็นสบู่มีกลิ่นหอมและมีสีสันสวยงาม บ้างก็เป็นแท่งแข็ง บ้างก็เป็นสบู่เหลว
ในปี ค.ศ.981 สบู่ขายกันในท้องตลาดราคาก้อนละ 3 ดิรฮัม (เท่ากับ 0.3 ดีนาร์) และอัล-ราซีเป็นคนแรกที่บันทึกรายละเอียดการทำสบู่ไว้
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้มุสลิมคิดค้นทำสบู่ น่าจะเป็นเพราะอิสลามสอนว่า 'ความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธา' และกฎของศาสนาบังคับให้มุสลิมต้องทำความสะอาดร่างกาย 5 เวลาก่อนละหมาด