มีคนจำนวนมากคิดว่า อิสลาม เป็นเช่นเดียวกันกับศาสนาทั่วๆไปคือ มุ่งเน้นให้ผู้นับถือขัดเกลาจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากการตกเป็นข้าทาสของกิเลสตัณหา
ความจริงแล้ว อิสลามมีองค์ประกอบ ของหลักคำสอนทางศาสนา และหลักการดำเนินชีวิต ถ้าหากจะพูดง่ายๆ ก็คือ อิสลามมีหลักธรรมให้มนุษย์ได้เชื่อมั่นศรัทธา ยึดถือปฏิบัติ และดำรงจริยธรรมที่ดีงาม นำบุคคลสู่การประกอบความดี และเป็นเกราะกำบังมิให้บุคคลประพฤติชั่ว ก่อความเสื่อมเสีย และสร้างความหายนะบนหน้าแผ่นดิน ขณะเดียวกันก็มีหลักให้มนุษย์ได้ดำรงชีวิตในโลกนี้ด้วยความสงบสุข ดังนั้น บัญญัติอิสลามจึงประมวลไว้ซึ่งระบบปกครอง ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม ส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามแต่ความสามารถ และถนัดของผู้เรียน และมีหลัก
ธรรมาภิบาล
การทีบางคนเข้าใจว่า ผู้ที่ศึกษาอิสลาม เมื่อจบออกไปไม่มีความสามารถในการประกอบอาชีพ ไม่มีงานทำ สร้างภาระให้แก่สังคม จึงไม่ถูกต้อง จำเป็นจะต้องทบทวน และตั้งหลักคิดเสียใหม่
ความจริงแล้ว อิสลามมีองค์ประกอบ ของหลักคำสอนทางศาสนา และหลักการดำเนินชีวิต ถ้าหากจะพูดง่ายๆ ก็คือ อิสลามมีหลักธรรมให้มนุษย์ได้เชื่อมั่นศรัทธา ยึดถือปฏิบัติ และดำรงจริยธรรมที่ดีงาม นำบุคคลสู่การประกอบความดี และเป็นเกราะกำบังมิให้บุคคลประพฤติชั่ว ก่อความเสื่อมเสีย และสร้างความหายนะบนหน้าแผ่นดิน ขณะเดียวกันก็มีหลักให้มนุษย์ได้ดำรงชีวิตในโลกนี้ด้วยความสงบสุข ดังนั้น บัญญัติอิสลามจึงประมวลไว้ซึ่งระบบปกครอง ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม ส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามแต่ความสามารถ และถนัดของผู้เรียน และมีหลัก
ธรรมาภิบาล
การทีบางคนเข้าใจว่า ผู้ที่ศึกษาอิสลาม เมื่อจบออกไปไม่มีความสามารถในการประกอบอาชีพ ไม่มีงานทำ สร้างภาระให้แก่สังคม จึงไม่ถูกต้อง จำเป็นจะต้องทบทวน และตั้งหลักคิดเสียใหม่
การศึกษาอิสลามที่แท้จริง จำเป็นจะต้องศึกษาหลักธรรมควบคู่ไปกับหลักการดำเนินชีวิต และหลักอาชีพด้วย ดังนั้นการศึกษาอิสลามที่แท้จริง จึงเป็นหลักประกันได้อย่างแน่นอน ว่า บุคคลที่จบออกไปย่อมเป็นคนดี มีศีลธรรม สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพได้ นอกจากผู้ที่ไม่ประสงค์ จะทำงานอันเป็นพฤติกรรม ที่ออกมาจากกมลสันดาน ของเขาผู้นั้นนั่นเอง
ความจริงที่ประจักษ์แก่ผู้คนทั่วไป คือ วิชาความรู้ที่บุคคลศึกษาเล่าเรียน เป็นเสมือนการสั่งสมประสบการณ์ชีวิต ดังจะเห็นได้จากการที่หลายๆคน ซึ่งจบการศึกษา บางคนก็มิได้ทำงานตรงกับสาขาที่ตัวเองเล่าเรียนมา ดังเช่น บางคนจบวิศวกรรมศาสตร์ แต่ทำงานเป็นนายแบงก์ บางคนจบประมง แต่กลายเป็นนักธุรกิจ ที่ประสบความสำเร็จ ผู้เรียนศาสนาทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ ล่ามเจ้าหน้าที่ประจำสถานทูต ฯลฯ พูดง่าย ๆ ก็คือ การศึกษาเป็นกระบวนการสั่งสมประสบการณ์ เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ
ความคิดที่ไม่ถูกต้องของบางคนเช่นกันคือ ความเข้าใจที่ว่า อัลลอฮฺทรงใช้ให้มุสลิมประกอบศาสนกิจเช่น การละหมาด จ่ายซะกาต ทำซ่อดาเกาะฮฺ ถือศีลอด ประกอบพิธีฮัจญ์ อ่านอัลกุรอาน ขอดุอาอฺ กล่าวซิกรุลลอฮฺ อันจะทำให้เขาได้รับทางรอดและนำเขาสู่ทางสวรรค์ ส่วนการประกอบอาชีพสุจริต การเลี้ยงดูครอบครัว การรับผิดชอบต่อสังคม การมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาโลกนี้ให้เจริญก้าวหน้าและเกิดสันติสุข ไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะทำให้เขาได้เข้าสวรรค์ และมีชีวิตอย่างผาสุขในโลกหน้า นี่เป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์
เพราะหน้าที่ของมนุษย์ที่จะต้องรับผิดชอบตามพระบัญชาของอัลลอฮฺคือ การสร้างสรรค์พัฒนาโลกนี้ให้เกิดความสันติสุข ซึ่งเขาจะต้องถูกสอบสวนการงานที่เขาปฏิบัติด้วย นบีมุฮัมัด ศ็ฮลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นแบบอย่างที่ดีในการนี้โดยที่ท่านปฏิบัติอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ขณะเดียวกันท่านก็ทำหน้าที่ของท่านในโลกนี้ โดยครบถ้วนสมบูรณ์ ชายผู้หนึ่งได้ถามท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺภรรยาของท่านนบีถึงกิจวัตรของท่าน
ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า
“ท่านจะปฏิบัติหน้าที่ภายในครอบครัว เมื่อถึงเวลาละหมาดท่านก็ไปละหมาดที่มัสยิด”
ส่วนในช่วงเวลาอื่น ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครอง วางรากฐานทางเศรษฐกิจ ดูแลประชาราษฎร์ เผยแพร่ศาสนาของอัลลอฮฺ
ท่านอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า
“ท่านทั้งหลาย จงอย่างนั่งเพียงกล่าวคำซิกรุลลอฮฺ ตัสบีห์ในมัสยิดโดยไม่ประกอบอาชีพ แท้จริง ฟ้ามิได้ตกลงมาเป็นเม็ดเงิน เม็ดทองหรอก”
ในความหมายนี้ ค่อลีฟะฮฺอุมัรกระตุ้นให้บุคคลประกอบอาชีพ ดูแลครอบครัว มีความรับผิดชอบต่อสังคมควบคู่ไป กับการปฏิบัติอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ อิสลามส่งเสริมให้มุสลิมเป็นนักปฏิบัติธรรม นักประกอบอาชีพ นักบริหารจัดการ เป็นนักญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ นักกิจกรรมเผยแพร่อิสลาม เป็นผู้รับผิดชอบในภาระหน้าที่ต่อส่วนรวม ไม่ใช่เป็นผู้แสวงหาทางรอด แบบเอาตัวรอดโดยไม่คำนึงถึงผู้ที่อยู่ภายใต้การดูแล และผู้ที่อยู่ในสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น