วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

The 100 – A Ranking of The Most Influential Persons in History


The 100 – A Ranking of The Most Influential Persons in History
100 ลำดับบุคคลผู้มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์


ในอดีต เคยมีนักคิดและนักวิชาการหลายคนได้พยายามที่จะจัดลำดับว่าในบรรดามหาบุรุษหรือบุคคลสำคัญๆที่มีส่วนต่อการเปลี่ยนแปลงโลกนั้นมีใครบ้าง และใครควรจะจัดอยู่ในลำดับที่เท่าไหร่ และใครควรที่จะถูกจัดไว้เป็นอันดับแรกในจำนวนมหาบุรุษทั้งหมด
นิตยสารรายสัปดาห์ TIME ฉบับวันที่ 15 กรกฎาคม 1974 หน้า 32-33 ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง Who Were History’s Great Leaders ? (ใครคือผู้ที่นำที่ยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์?) ของนักจิตวิเคราะห์ชาวอเมริกันคนหนึ่งชื่อจูลส์ มาสเซอร์แมน (Jules Masserman) ซึ่งได้วางหลักเกณฑ์กว้างๆในการคัดเลือกไว้ว่าผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลได้นั้น จะต้องปฏิบัติหน้าที่ 3 ประการต่อไปนี้ให้สำเร็จ นั่นคือ

1) ให้ความเป็นอยู่ที่ดีแก่ผู้ที่อยู่ใต้การปกครอง
2) สร้างระเบียบทางสังคมที่ทำให้คนที่อยู่อาศัยในนั้นมีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
3) สร้างระบบความเชื่ออย่างหนึ่งให้แก่สังคม




         หลังจากกำหนดหลักเกณฑ์ที่จะตัดสินว่าใครสมควรที่จะได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดของมหาบุรุษโลกผู้ยิ่งใหญ่แล้ว นายจูลส์ มาสเซอร์แมนก็ไดแสดงความเห็นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นเป็นพื้นฐานการพิจารณาว่า :- “คนอย่างหลุยส์ ปาสเตอร์และซอล์ค เป็นผู้นำในข้อแรก ส่วนคนอย่างคานธีและขงจื๊อในด้านหนึ่งและคนอย่างอเล็กซานเดอร์ ซีซ่าร์และฮิตเลอร์ในอีกด้านหนึ่งนั้นเป็นผู้นำในข้อที่สองและในข้อที่สาม สำหรับพระเยซูและพระพุทธเจ้านั้นก็เป็นผู้นำในข้อที่สามเท่านั้น แต่คนที่เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลก็คือมุฮัมมัดผู้ทำหน้าที่ทั้งสามได้ครบ ถึงแม้โมเสสจะทำได้เหมือนกับมุฮัมมัด แต่ก็ยังน้อยกว่า”
หลังจากนั้นอีกสี่ปี คือใน ค.ศ.1978 ก็มีหนังสือออกมาอีกเล่มหนึ่งชื่อ The 100 – A Ranking of The Most Influential Persons in History ( 100 ลำดับบุคคลผู้มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์) ซึ่งเขียนโดยนายไมเคิล เอช. ฮาร์ท (Michael H. Hart) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันและเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดเล่มหนึ่งในเวลานั้น หนังสือเล่มนี้ได้จัดลำดับบุคคลสำคัญๆในแขนงสาขาต่างๆจำนวน 100 คนที่เขาเห็นว่าเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่ในที่นี้จะนำมากล่าวเพียง 20 ลำดับเท่านั้นคือ

1) นบีมุฮัมมัด




2) ไอแซค นิวตัน
3) พระเยซูคริสต์
4) พระพุทธเจ้า
5) ขงจื๊อ
6) เซนต์ ปอล
7) ไซหลุน
8)โยฮาน กูเต็นเบิร์ก
9) คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
10) อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
11) คาร์ล มาร์กซ
12) หลุยส์ ปาสเตอร์
13) กาลิเลโอ 
14) อริสโตเติล
15) เลนิน
16) โมเสส
17) ชาร์ส ดาร์วิน
18) ซีหวังตี
19) ออกัสตัส ซีซ่าร์
20) เหมาเจ๋อตุง
           
           ในหนังสือเล่มนี้ นายไมเคิล เอช. ฮาร์ต ได้แสดงความคิดเห็นข้อพิจารณาในการจัดลำดับมหาบุรุษของโลกไว้หลายแง่หลายมุมด้วยกัน ลองมาดูว่าเขาได้กล่าวถึงท่านนบีมุฮัมมัดไว้อย่างไร

          1) ประสบความสำเร็จสูงสุด “ที่ผมเลือกเอานบีมุฮัมมัดขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งของรายชื่อบุคคลผู้มีอิทธิพลที่สุดของโลกนั้นอาจทำให้ผู้อ่านบางคนแปลกใจและบางคนอาจจะสงสัย แต่ท่านเป็นคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดทั้งในด้านศาสนาและด้านโลกวัตถุ” (หน้า 4 และ 33)

         2) ผู้ที่รวมอาหรับได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ “ชนเผ่าเบดูอินแห่งอารเบียเป็นเผ่าที่มีชื่อเสียงร่ำลือมากในเรื่องความเป็นนักรบที่ดุร้าย แต่เนื่องจากมีจำนวนน้อยและแตกแยกเป็นก๊กเป็นเผ่าทำสงครามเข่นฆ่ากันอยู่ตลอดเวลา พวกอาหรับจึงไม่มีทางที่จะเปรียบเทียบได้กับกองทัพที่ใหญ่กว่าของอาณาจักรต่างๆในเขตการเกษตรที่เป็นหลักแหล่งแล้วในทางตอนเหนือ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้ถูกรวบรวมเข้าด้วยกันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โดยมุฮัมมัดและด้วยความศรัทธาอันแข็งแกร่งในพระเจ้าที่แท้จริงแต่เพียงพระองค์เดียว กองทัพอาหรับเล็กๆเหล่านี้ก็เริ่มทำการพิชิตต่อเนื่องกันอย่างน่าประหลาดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ”(หน้า 34-35)

        3) ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอิสลาม “ประการแรก นบีมุฮัมมัดมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอิสลามมากกว่าที่พระเยซูมีต่อการพัฒนาศาสนาคริสต์ถึงแม้ว่าพระเยซูจะเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อคำสอนทางด้านจริยธรรมและศีลธรรมของศาสนาคริสต์ เซนต์ปอลต่างหากที่เป็นคนพัฒนาวิชาการคริสตศาสนาและเป็นคนเปลี่ยนแปลงศาสนาที่สำคัญและเป็นผู้เขียนเนื้อหาส่วนใหญ่ของคัมภีร์ใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม นบีมุฮัมมัดก็เป็นผู้รับผิดชอบต่อทั้งศาสนศาสตร์และหลักการทางศีลธรรมและจริยธรรมของอิสลาม นอกจากนั้นแล้ว ท่านยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อใหม่และในการวางรากฐานการปฏิบัติศาสนกิจของอิสลามด้วย” (หน้า 39)

         4) ผู้นำทางโลกและทางศาสนาที่มีอิทธิพลยิ่งใหญ่ “เนื่องจากกุรอานเป็นสิ่งสำคัญต่อมุสลิมเช่นเดียวกับที่คัมภีร์ไบเบิลมีความสำคัญต่อชาวคริสเตียน อิทธิพลของนบีมุฮัมมัดผ่านทางคัมภีร์กุรอานจึงยิ่งใหญ่มาก ดังนั้น มันจึงเป็นไปได้ที่อิทธิพลของนบีมุฮัมมัดต่ออิสลามจะยิ่งใหญ่กว่าอิทธิพลของพระเยซูและเซนต์ ปอลที่มีต่อศาสนาคริสต์รวมกันเสียอีก” “ยิ่งไปกว่านั้น มุฮัมมัดยังเป็นผู้นำทางโลกและทางศาสนาด้วยซึ่งไม่เหมือนกับพระเยซู ความจริงแล้ว ในฐานะที่เป็นพลังผลักดันอยู่เบื้องหลังการพิชิตของชาวอาหรับ ท่านน่าที่จะอยู่ในตำแหน่งผู้นำทางการเมืองที่มีอิทธิพลที่สุดในทุกยุคทุกสมัยเสียด้วยซ้ำ” “ในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆ บางคนอาจพูดว่าเหตุการณ์นั้นเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และมันเกิดขึ้นมาเองถึงแม้ว่าจะไม่มีผู้นำทางการเมืองคนใดคนหนึ่งมานำทางเหตุการณ์นั้น ตัวอย่างเช่น อาณานิคมอเมริกาใต้อาจจะได้รับเอกราชจากสเปนก็ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีคนอย่างไซม่อน โบลิวาร์ แต่กรณีเช่นนี้จะนำมาใช้กับการพิชิตของพวกอาหรับไม่ได้ เพราะไม่มีสิ่งใดเช่นว่านี้เกิดขึ้นก่อนนบีมุฮัมมัด และไม่มีเหตุผลใดที่จะเชื่อว่าการพิชิตของพวกอาหรับจะเกิดขึ้นได้หากปราศจากนบีมุฮัมมัด”(หน้า 39-40)
5) บุคคลเดียวที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ “ดังนั้น เราจะเห็นว่าการพิชิตของพวกอาหรับในศตวรรษที่ 7 ยังมีบทบาทสำคัญต่อไปในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน” “การรวมกันของอิทธิพลทางโลกและศาสนาอย่างไม่มีอะไรมาเสมอเหมือนได้นี้เองที่ทำให้ผมรู้สึกว่านบีมุฮัมมัดสมควรที่จะถูกพิจารณาว่าเป็นบุคคลเดียวที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ” (หน้า 40) 

มูฮัมหมัด ศาสดาในอุดมคติสู่ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก


หากศึกษาประวัติศาสตร์ของโลกก็จะพบบรรดาผู้นำทั้งหลายที่มีอิทธิพลต่อโลกในด้านต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นจักรพรรดิ์ฟาโรห์แห่งอียิปต์ อเล็กซานดอร์แห่งมาเซโดเนีย ซีซาร์แห่งโรม นาโปเลียนแห่งฝรั่งเศส
หรือนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงอย่าง โสเครติส เพลโต อริสโตเติล แม้แต่ชีวิตของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ เ
ช่น ไอแซค นิวตัน หลุยส์ ปาสเตอร์ กาลิเลโอ จนมาถึงในยุคร่วมสมัย ที่มีคนอย่าง คาร์ล มาร์กซ เลนิน เหมาเจ๋อตุง และ จอห์น เอฟ เคนเนดี้ 

แต่หากเราพิจารณาถึงผู้นำในอุดมคติ ที่มีอิทธิพลอย่างครอบคลุมทุกแง่มุมต่อมนุษย์ชาติ แล้ว 
เขาจะต้องสามารถเป็นแบบอย่างของคุณธรรมและความดีงามให้แก่บุคคลที่ต้องการดำเนินตามได้ 
โดยสามารถที่จะแก้ปัญหาต่างๆของสังคม สร้างความเสมอภาค ภารดรภาคให้แก่มนุษย์ 
รวมประสบผลสำเร็จในการฟื้นฟู จิตวิญญาณ ศีลธรรม จริยธรรม ที่ดีงามของมนุษย์ 
ซี่งเขาจะต้องสามารถสร้างแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ให้ผู้คนเกิดความศรัทธาได้

ซึ่งก็คงต้องกล่าวถึงชีวิตและอิทธิพลของบรรดาศาสดาหรือศาสนทูต (ที่เชื่อว่าได้รับสาส์นจากพระผู้เป็นเจ้า)ในศาสนาต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็น โมเสส พระเยซูคริสต์ และ นบีมุฮัมมัด ซึ่งถือว่าเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย 
ที่มาย้ำคำสอนดั้งเดิมเรื่องความศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว หรือ พระพุทธเจ้า เราจะเห็นถึงคำสอนที่ท่านเหล่านี้ได้นำมา 
มีมหาชนผู้ที่เลื่อมใส ศรัทธา และต้องการดำเนินตามแบบอย่างจำนวนมาก 
โดยที่ คริสต์ อิสลาม พุทธ เป็นศาสนาใหญ่ที่สุดในโลก หากจะนับตามจำนวนประชากรที่นับถือ

ในอิสลาม มีการบันทึก ชีวประวัติของนบีมุฮัมมัดไว้อย่างละเอียดและเป็นจัดศาสตร์หนึ่งที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
ซึ่งครอบคลุมชีวิตตลอดการเผยแผ่ศาสนาของท่าน 23 ปี โดยถือว่าแบบอย่างของท่าน
เป็นแหล่งที่มาของบทบัญญัติในศาสนาลำดับสองหลังจาก คัมภีร์อัลกุรอาน โ
ดยเริ่มแรกมีมวลชนจำนวนมหาศาลในยุคแรกที่ได้ “ท่องจำ” แบบอย่างของนบีมุฮัมมัด ไม่ว่าจะเป็นคำพูดและการกระทำของท่านศาสนฑูต 

ดร. เอ สปริงเกอร์ ชาวตะวันตกคนแรกที่เขียนชีวประวัติของนบีมุฮัมมัดจากแหล่งดั้งเดิมภาษาอาหรับ
ได้แสดงความอัศจรรย์ใจ โดยกล่าวไว้ในงานเขียนของเขาว่า 
“ หากว่าบันทึกชีวิตของมุสลิมเหล่านี้ถูกรวบรวมขึ้น เราอาจมีรายชื่อของบุคคลที่โดดเด่นถึงครึ่งล้าน… ” (Nadwi 1977 : 68)

ท่านนบีมุฮัมมัด ได้เป็นต้นแบบในการบูรณาการชีวิตทั้งหมดไปสู่ “รูปแบบชีวิต” ที่ถูกสร้างขึ้นจากแนวคิด 
“ความเป็นหนึ่งของพระเจ้า” ไม่ว่าในด้านความประพฤติทั้งภายในภายนอก ทั้งหมดนั้นเพื่อการเป็น “แบบแห่งชีวิต”
ดังปรากฏในคัมภีร์อัล กุรอานว่า “เพื่อผู้นำสาส์น(มุฮัมมัด) จะได้เป็นพยาน(แบบ) ต่อพวกเจ้า ” (กุดามะฮฺ 2547 : 42-43 )

เมื่อถูกถามถึงคุณลักษณะของท่านนบีมุฮัมมัด ท่านหญิงอาอิชะฮฺภรรยาของท่านกล่าวว่า “บุคลิกภาพของท่านคืออัลกุรอาน”(รายงานโดย อัล นะซาอี)
เพราะชีวิตของท่านคือผลสะท้อนของคัมภีร์อัลกุรอาน พระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้า 

อัลกุรอานที่ถูกประทานมาจากอัลลอฮฺ ก็ไม่อาจส่งผลใดๆต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์ได้
เว้นแต่ต้องผ่านการแปรเปลี่ยนสู่การปฏิบัติได้ในตัวของท่านนบี (มัยมูน 2548:58 )
จากนั้นบรรดาสหายผู้อยู่ร่วมกับท่าน ได้รับการฝึกฝน กล่อมเกลาด้วยกับแบบอย่างของท่าน 
ดังเช่นน้ำพุอันใสบริสุทธิ์ที่พวกเขาได้ดื่มกิน ส่งผลให้พวกเขาได้รับความโดดเด่นเป็นเอกในประวัติศาสตร์ 

ซึ่งมิติต่างๆของชีวิตท่านส่งผลให้บุคคลที่อยู่รายล้อมท่านนั้นล้วนแล้วแต่โดดเด่นในเรื่องต่างๆ
เช่น อุมัร อิบนุ คอฏฏอบ ผู้ปกครองผู้ทรงธรรม ซึ่งถูกจัดเป็น บุคคลอันดับที่ 52 ที่มีอิทธิพลสูงสุดตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์ (โดยชาวตะวันตก)
ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเป็นผู้นำมุสลิมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดหลังจากท่านนบีมุฮัมมัด ผู้ซึ่งได้ขยายอณาจักรการปกครองของอิสลามออกไปอย่างรวดเร็ว
และกว้างขวางจากดินแดน อาราเบีย ไปจนถึงอิยิปต์ และเปอร์เซีย โดยไม่มีการละเมิดและการรุกราน แต่ใช้ความสันติธรรม 
ดังเช่นในการปกครอง เยรูซาเล็ม ซึ่งจัดว่าเป็นยุคทองของการสมานฉันท์ ของผู้คนใน 3 ศาสนา ยิว คริสต์ อิสลาม ซึ่งอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข 
อีกทั้งสหายของท่าน คนอื่นๆก็มีความสามารถไปคนละด้าน ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองผู้ทรงธรรมสามท่านในยุคแรก 
คือ อบูบักร อัซ ซิดดิ๊ก , อุษมาน อิบนฺ อัฟฟาน และ อาลี อิบนฺ อบี ตอลิบ

ตลอดหน้าประวัติศาสตร์อิสลาม 1400 ปี แบบอย่างของท่านได้ก่อให้เกิดบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ที่ดำเนินชีวิตตามในแนวทางของท่าน 
ไม่ว่าจะเป็น ซอลาฮุดดีน อัล อัยยูบี ในยุคกลาง ที่ชาวตะวันตกเรียกว่า สลาดิน เป็นผู้ปกครองผู้ทรงธรรมเฉกเช่นคนยุคแรก
และปรากฏผู้ปกครองอย่าง มุฮัมมัด อัล ฟาติฮฺ ในตุรกี และ กษัตริย์โอรังเซป แห่งราชวงโมกุล ในอินเดีย 

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการในยุคกลาง ที่เริ่มขึ้นได้มีต้นกำเนิดจากอารยธรรมอิสลาม P.K.Hitti นักประวัติศาสตร์โลก 
ได้กล่าวไว้ในงานเขียน The History of Arabs ของเขาว่า “ มหาวิทยาลัยคอร์โดวา ถือเป็นสถาบันการศึกษาที่ดีที่สุดในสมัยนั้น 
เพราะมหาวิทยาลัยแห่งนี้เกิดก่อนมหาวิทยาลัย อัล อัสฮัร ในไคโร และมัดรอซะฮฺ นิซอมมิยะฮฺ ที่แบกแดด ในมหาวิทยาลัย 
คอร์โดวาแห่งนี้มีทั้งนักศึกษาที่เป็นมุสลิม คริสเตียน และศาสนิกอื่น นักศึกษาเหล่านั้นมีทั้งชาวเสปน ชาวยุโรป ชาวอัฟริกา 
และ ชาวเอเชีย มหาวิทยาลัยคอร์โดวาตั้งอยู่ในมัสยิดที่เมืองหลวง (อิบราเฮ็ม ณรงค์รักษาเขต 2546 : 86 ) ” 
ของเสปนซึ่งเป็นดินแดนที่มุสลิมครอบครอง เราจึงพบนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียง อาทิเช่น อิบนุ ซินานักปรัชญา 
และนักการแพทย์ อัล ฆอซาลี นักปรัชญา อิบนุ คอลดูน นักรัฐศาสตร์ ซึ่งพวกเขาเป็นผู้ดำเนินตามแบบของศาสนฑูตในการเป็น ครู ของมนุษยชาติ

พฤติกรรมที่สมบูรณ์แบบแห่งความเมตตา ( Perfect Behavior of Mercy )

ในนิยามของคำว่า “ผู้นำที่ดี” คือนิยามที่ให้โดยเดมมิ่ง (Deming ) ซึ่งเขากล่าวว่า “ผู้นำที่ดี คือผู้นำ คือผู้ที่สามารถสร้างภาวะผู้นำให้เกิดแก่ผู้อื่น
รับฟังประชาชนและอภัยต่อความผิดของพวกเขาเหล่านี้ ” ...ซึ่งมีสาระใกล้เคียงกับคำสอนอิสลาม ว่า (นาเซอร์ แจบนาว์น 2548 : 116 ) 
คัมภีร์อัลกุรอานซึ่งเป็นพระดำรัสของอัลลอฮฺได้กล่าวถึงท่านนบีมุฮัมมัดว่า “และเราไม่ได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นได้เว้นแต่เพื่อเป็นความเมตตาแก่สากลโลก”

“ เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮ์นั่นเอง เจ้า(มุฮัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวกเขา และถ้าหากเจ้าเป็นผู้ประพฤติหยาบช้า
และมีใจแข็งกระด้างแล้วไซร้ แน่นอนพวกเขาก็ย่อมแยกตัวออกไปจากรอบ ๆ เจ้ากันแล้ว ดังนั้นจงอภัยให้แก่พวกเขาเถิด และจงขออภัยให้แก่พวกเขาด้วย 
และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย ครั้นเมื่อเจ้าได้ตัดสินใจแล้ว ก็จงมอบหมายแด่อัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักใคร่ผู้มอบหมายทั้งหลาย” 

ซึ่งได้นักประวัติศาสตร์มุสลิมได้บรรยายถุงภาพของท่านในเรื่องนี้ว่า 
“ ท่านศาสดาซึ่งถูกห้อมล้อมโดยสาวก รอบๆตัวท่านนั้นเปรียบได้กับจันทร์เต็มเดือนอันสุกใส และกลุ่มของดวงดาวที่แปล่งแสงอยู่รอบ 
ในขณะที่มีรัศมีออกมาสุกใสยิ่งขึ้น พวกเขาก็เลยมีรัศมีไปด้วย แบบอย่างการเป็นผู้นำของท่านมิใช่แบบอย่างของขุนนางผู้ใช้อำนาจ
ผู้หมกมุ่นอยู่กับการนสร้างภาพตัวเอง และหยิบฉวยความเข้มแข็งให้ตัวเอง ท่านมิได้รูปแบบของศาสตราจารย์ขี้อิจฉา
ซึ่งจะถูกระคายเคืองทันที หากว่านักศึกษาของตัวเองโดดเด่นขึ้นมา นอกจากจะไม่พยายามทำให้สาวกมัวหมอง 
และลดคุณความดีของพวกเขาลงแล้ว ท่านศาสดายังได้ยกระดับและพัฒนาพวกเขาอยู่ตลอดเวลา 
และนำพวกเขาไปสู่การยอมรับว่าสิ่งใดที่ดีที่สุด และสูงส่งที่สุดสำหรับพวกเขา” (สะกะรียา บะชีร 2540 :58)

คัมภีร์อัลกุรอานซึ่งเป็นพระดำรัสของอัลลอฮฺได้กล่าวถึงท่านนบีมุฮัมมัดว่า “และเราไม่ได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นได้เว้นแต่เพื่อเป็นความเมตตาแก่สากลโลก” 

อบุล ฮะซัน อะลีย์ อันนัดวีย์ นักปราชญ์อิสลาม ชาวอินเดีย ได้กล่าวถึงผลประโยชน์ที่โลกนี้ได้รับจากการมาของท่าน

“ โลกที่ได้มาซึ่งความสดใหม่ของชีวิต ความยุติธรรม ความดีงาม กลายเป็นเครื่องหมายของมัน 
ความอ่อนแอได้เป็นความกล้าหาญ ที่จะอ้างสิทธิของพวกเขาจากความสูงค่าและความแข็งแรง
โดยที่ ความเมตตา และความอ่อนโยนกลายเป็นบรรทัดฐาน มันเป็นเวลาที่มนุษยนิยมได้กลายเป็นแรงขับดัน 
ความศรัทธา และความเชื่อมั่นจับหัวใจมนุษย์ มนุษยชาติเริ่มมีความภูมิใจ และไม่เห็นแก่ตัวเอง และ พฤติกรรมที่ดีงาม กลายเป็นลักษณะนิสัยของผู้คน
รายการข้างล่าง เป็นของขวัญอันล้ำค่าของอิสลามโดยสรุป
ซึ่งอิสลามมีบทบาทสำคัญในการยกระดับ คุณค่า และวัฒนธรรมของมนุษย์ โลกใบใหม่อันสดใส 
ที่ค่อนข้างจะแตกต่างจากความเสื่อมลงและการแตกสลายของมนุษย์ธรรมในเวลาที่มาถึงของมัน ซึ่งเป็นผลจากเหล่านี้ของ การเดินการแบบอิสลาม

1. หลักศรัทธาในความเป็นหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้าที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ 
2. แนวคิดเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันของมนุษย์ และความเป็นพี่น้อง
3. แนวคิดเกี่ยวกับความมีเกียรติของมนุษย์ และ มนุษย์เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของพระผู้เป็นเจ้า
4. การยอมรับสถานภาพอย่างบริบูรณ์ของผู้หญิงและการฟื้นคืนสิทธิทางกฎหมายให้กับพวกเธอ
5. การปฏิเสธความสิ้นหวังและเพิ่มความหวัง ความมั่นใจ ในการเป็นอยู่ของมนุษย์
6. การหลอมละลายเรื่องทางโลก และ เรื่องทางธรรมเข้าด้วยกัน การปฏิเสธที่จะยอมรับการแยกออกระหว่างทั้งสอง
7. การผสมผสานของศาสนาและความรู้ โดยการทำให้สิ่งหนึ่งพึ่งพาอีกสิ่ง และการยกเกียรติแก่ความรู้ โดยเปิดเผยความหมายของการเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้า
8. การให้ความสำคัญต่อการใช้สติปัญญาในเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและจิตวิญญาณ และกระตุ้นให้มีการศึกษาและพิจารณาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
9. การสั่งใช้ให้ผู้ที่ปฏิบัติตามอิสลามรับผิดชอบต่อการเผยแผ่คุณค่า และ ความดีงาม ให้แก่โลก และทำให้มีภาระหน้าที่เหนือพวกเขาในการฟื้นคืนสัจธรรม และ ความยุติธรรม
10. การสถาปนาความศรัทธาและวัฒนธรรมสากล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น