วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

อิสติฆฺฟารฺ (การขออภัยโทษ)

อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
وَأَنِ اسْتَغْفِرُوا رَبَّكُمْ ثُمَّ تُوبُوا  (سورة هود:3)
ความว่า “และ พวกเจ้าจงขออภัยโทษต่อพระผู้อภิบาลของพวกเจ้า แล้วจงกลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์เสีย 
บรรดา มุสลิมและมุสลิมะฮฺทุกคนควรจะขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺทุกๆวันไม่น้อยกว่า 100 ครั้ง ดังคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า
إِنَّهُ لَيُغَانُ عَلَى قَلْبِي وَإِنِّي لأَسْتَغْفِرُ اللهَ فِي الْيَوْمِ مِائَةَ مَرَّةٍ (1)
ความว่า “แท้ จริง ฉันรู้สึกเหมือนมีสนิม (ลืมรำลึกถึงอัลลอฮฺ)(2) ในจิตใจของฉัน และแท้จริงฉันจึงจะขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺในวันหนึ่งๆจำนวน 100 ครั้ง
  
ส่วนหนึ่ง ของสำนวนอิสติฆฺฟารฺที่มีสายรายงานถูกต้อง คือ 
أَسْتَغْفِرُ اللهَ الَّذِي لاَ إِلَهَ إِلاَّ هُوَ الْحَيُّ الْقَيُّوْمُ وَأَتُوْبُ إِلَيْهِ  (3)
ความว่า “ฉัน ขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ ผู้ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ผู้ทรงชีวิน ผู้ทรงบริหารดูแลกิจการทั้งหลาย และฉันขอกลับคืนสู่พระองค์ (ขอลุแก่โทษจากพระองค์)

 رَبِّ اغْفِرْ لِي وَتُبْ عَلَيَّ إِنَّكَ أَنْتَ التَّوَّابُ الرَّحِيْمُ (4)
ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลของฉัน ขอได้โปรดยกโทษให้แก่ฉัน ขอได้โปรดประทานอภัยโทษให้แก่ฉัน แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงเปี่ยมด้วยการให้อภัยและทรงเมตตายิ่ง
 أَسْتَغْفِرُ اللهَ وَأَتُوْبُ إِلَيْهِ (5)
ความว่า “ฉัน ขออภัยโทษต่อพระองค์และฉันขอกลับคืนสู่พระองค์ (ขอลุแก่โทษจากพระองค์) 
- เชิงอรรถ
(1)   เศาะฮีหฺ มุสลิม, เลขที่ 2702
(2)   อิบนุล อะษีรฺกล่าวว่า ความหมายของ ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่ว่า (ลืมรำลึกถึงอัลลอฮฺ) นั้นคือ ท่านจะทำซิกิรรำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากมาย และท่านจะทำตัวเข้าใกล้ชิดอัลลอฮฺเสมอ ดังนั้นหากมีช่วงใดเกิดล่าช้าในการทำซิกิรฺ ท่านจะถือว่านั่นคือความผิดอย่างหนึ่ง หลังจากนั้น ท่านก็จะรีบกล่าวอิสติฆฺฟารฺทันที (ญามิอุล อุศูล, เล่ม 4 หน้า 386)
(3)   ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวความว่า ผู้ใดอ่านมัน อัลลอฮฺจะทรงประทานอภัยโทษให้แก่เขา ถึงแม้ว่าเขาจะหลบหนีจากสมรภูมิรบก็ตาม (หะดีษ เศาะฮีหฺ, อบู ดาวูด, เลขที่ 1517, อัต-ติรมิซีย์, เลขที่ 3648, อัล-หากิม, เล่ม 1 หน้า 511)
(4)   ท่านอิบนุ อุมัรฺ เล่าว่า มีคนเคยนับ คำกล่าวอิสติฆฺฟารฺข้างต้นของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในมัจลิส(ที่นั่งชุมนุม)เดียวได้ถึง 100 ครั้ง ก่อนที่ท่านจะลุกขึ้นออกจากมัจลิส (หะดีษ เศาะฮีหฺ, อะหมัด, เล่ม 2 หน้า 21, อัล-บุคอรีย์ในอะดับ อัล-มุฟร็อด, เลขที่ 618, อบู ดาวูด, เลขที่ 1516, อัน-นะสาอีย์ในอะมะลุลเยาม์ วัลลัยละฮฺ, เลขที่ 459, อิบนุ มาญะฮฺ, เลขที่ 3814)
(5)   อบู ฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า ฉันไม่เคยพบ เห็นผู้ใดแม้แต่คนเดียวที่กล่าวอิสติฆฺฟารฺ (ข้างต้น) มากกว่าท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (หะดีษ เศาะหีห, อัน-นะสาอีย์ในอะมะลุลเยาม์ วัลลัยละฮฺ, เลขที่ 454, อิบนุส สุนนีย์, เลขที่ 363, อิบนุ หิบบาน, เลขที่ 928

ลิงค์รวม  http://www.islamhouse.com/p/194618

ขอขอบคุณผู้ดูแลเว็บ Islamhouse

วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

เมื่อผู้หญิงส่วนมาก ต้องตกนรก!!

เมื่อผู้หญิงส่วนมาก  ต้องตกนรก!!
โดย อบูนะบีล
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
السلام عليكم ورحمة الله وبركا ته
                          ผู้ เขียนไม่แปลกใจเลยสักนิด หากสิ่งที่ปรากฏอยู่ ณ ปัจจุบัน จะไปสอดคล้องกับสิ่งที่ท่านรอซูลุลลอฮกล่าวไว้เมื่อพันสี่ร้อยกว่าปีที่ผ่าน มาว่าฉันได้เห็นสตรีส่วนมากเป็นชาวนรก**
ผู้หญิงหลายๆคน คงจะสะดุ้งตกใจกันเล็กน้อย หรืออาจจะอุทานไปเลยได้ว่า  นี่!!มาว่าเราผู้หญิงส่วนมากตกนรกได้อย่างไร ผู้ชายไม่ตกหรอ ทำไมต้องผู้หญิงด้วย ตัดสินง่ายๆอย่างนี้ได้อย่างไร  โฮ!! โฮ!! ใจเย็นๆน๊ะ อย่าเพิ่งว่าอะไรผู้เขียนหล่ะ เรามาอ่านและคิดตามดีกว่า
ในระยะเวลาหลายวัน และหลายคืนหญิงที่มีประจำเดือน เธอไม่ได้ละหมาดและไม่ได้ถือศีลอดทั้งวาญิบและสุนนะห์ ในรอมฎอนและนอกรอมฎอน ขณะเดียวกัน บุรุษชายเขาได้ละหมาดทั้งกลางวันและกลางคืน ถือศีลอดทั้งในและนอกรอมฎอน และอีกสารพัดอันไม่มีจำกัด

เห็นไหม?? ว่าผู้ชาย เขามีโอกาสที่จะเก็บเกี่ยวอามาลอิบาดะห์ได้มากกว่ากัน

                ในระยะ เวลาทั้งชีวิต หญิงที่มีสามีเขาต้องเชื่อฟัง  แม้เธอ จะไปเยี่ยมพ่อและแม่ของตน เธอก็ยังต้องขอความเห็นชอบจากสามี หากถูกปฏิเสธ เธอไม่อาจจะอ้อยอิ่งหรือขืนไปได้แม้แต่น้อย ขณะเดียวกัน ชายเขามีสิทธิที่จะสั่งใช้ภรรยาอย่างไรก็ได้ หากเรื่องนั้นไม่ผิดหลักการศาสนา

เห็นไหม??ว่าทำไมท่านรอซูลุลลอฮถึงกล่าวไว้เช่นนั้น ก็โอกาสที่หญิงเขาจะฝ่าฝืนมีมากมายไหมและเหตุที่หญิงจะได้ทำผิดมีมากกว่าไหม 
(คงไม่ปฏิเสธหรอกใช่ไหมว่า วันนี้ภรรยาหลายๆคนมักจะเป็นคนที่ดื้อดึงและสาปแช่งกล่าวว่าสามีสารพัดคำพูด ที่ออกมาด้วยกับอารมณ์ฉุนเฉียวเมื่อวันนั้นมาถึงของนาง.... วัลลอฮฮุอะลัม  เมื่อรู้แบบนี้ หลายคน คงจะคิดไปเลยว่า ฉันจะไม่แต่งดีกว่า ฉันไม่พร้อมแต่งแล้วหล่ะ แต่อย่าเพิ่งตัดสินใจไปนะคับ วันนี้มีอะไรมาฝากให้สาวๆนะ ลองอ่านท้ายสุดเลย )

และกับสภาพสังคมบ้านเราครอบครัวเรา ในวันนี้ ไม่ ใช่ผู้หญิงส่วนมากหรอกใช่ไหม ที่ยังคงหลับใหลและหลงใหลกับสิ่งบันเทิงไร้สาระ ทั้งละคร ดูหนัง รายการเพลง ดนตรีหรือแม้กระทั่งการคลั่งไคล้ดาราหนุ่มหล่อๆจากเกาหลีหรือเกาเหลาถึงขนาด ต้องหาเก็บรูปมาใส่ในอัลบั้มทั้งมือถือหรือรูปเก็บต่างๆ และไม่ใช่ผู้หญิงส่วนมากหรอกใช่ไหม คนเดียวเขานั่งหลับ สองคน คนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้ (ก็ไม่ได้ว่าชายไม่มีหรอก แต่เท่าที่รับรู้ หญิงนั้นหล่ะที่มากกว่า)

ไม่กี่เรื่องเองที่ชายเค้าไม่มีแต่หญิงกลับมีและ ต้องเผชิญ แต่ก็คงเพียงพอแล้วกับการทำให้หญิงนั้นต้องตกนรกแล้วส่วนมาก อย่างที่ท่านรอซูลุลลอฮได้กล่าวไว้แล้ว

ยังไม่พออีกหรือที่หญิงที่ศรัทธาแล้วทุกท่านใน วันนี้ ที่จะใคร่ครวญแล้วหันกลับมาดูตัวเอง ทบทวนว่าเราบริจาคกันแล้วหรือยัง เรารำลึกถึงอัลลอฮและขออภัยโทษเสมอๆอยู่หรือเปล่า เรายังคลั่งใคล้กับสิ่งที่เป็นบันเทิงไร้สาระอยู่อีกไหมและเราในวันนี้ ใช้เวลาในแต่ละวัน แต่ละเดือน และแต่ละปี หมดไปกับการกระทำอามาลอิบาดะหฺ การอิสติฆฟารฺ และการซิกรุลลอฮมากน้อยเพียงใด
ยังจะมีเวลาอีกหรือ ที่วันๆ ฉันจะคิดอยู่แต่ว่า เสื้อและกางเกงที่ฉันจะใส่ ต้องเป็นสีนั้น สีนี้ ยี่ห่อนั้น ยี่ห้อนี้ และผ้าคลุมที่ฉันใส่นั้น จะต้องเป็นสีนั้น สีนั้นเพื่อจะได้ให้เป็นที่สะดุดตาชายกัน

ยังจะมีเวลาอีกหรือ ที่นิตยสารดารา เสื้อผ้าและแฟชั่นหนุ่มสาว ทั้งคู่สร้างและคู่สม ทั้งคู่รักและคู่เกลียด ทั้งนิยายและนิทาน จะเป็นที่อ่านของเรามากกว่าที่อ่านสิ่งที่มาต่อเติมซึ่งเวลาของวันนั้นที่มา ถึง วันที่เราไม่สามารถทำอิบาดะห์บางอย่างที่สำคัญไปได้

และยังมีเวลาอีกหรือ ที่ความวาดฝันของฉัน จะต้องได้เรียนนั้น เรียนนี้ ภาษานั้น ภาษานี้ เสียสละนั่น เสียสละนี่ แต่การเสียสละเพื่อฟังบรรยายของอัลลอฮ ภาษาของ อัลลอฮ คำพูดของอัลลอฮ เรื่องราวของอัลลอฮ เรายังไม่ มีแม้แต่ที่จะไว้ให้รำลึกถึงความตายเลยแม้แต่น้อย!!! 
ลองพิจารณากันดู!!!
เดือนนี้ ฉันละหมาดได้กี่วัน เดือนนี้ฉันถือศีลอดได้กี่วัน แล้วในเดือนนี้นั้น อามาลหรืออารมย์ อย่างไหนที่มากกว่ากัน จะรอดไหม หากชีวิตที่ถูกปลิดไปในตอนนี้ มันจะรอดพ้นซึ่งการลงโทษของพระองค์อัลลอฮ ซุบฮานาฮุวา ตะอาลา ครับ
والسلام عليكم ورحمة الله وبركاته
-------------------------------------------------------------------
** อับดุลลอฮ์ อิบนิอุมัร รายงานจากท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ว่า ท่านรอซูลได้กล่าวว่าโอ้บรรดาสตรีทั้งหลาย พวกเธอควรบริจาคให้เยอะ และขออภัยโทษให้มากๆ ฉันได้เห็นสตรีส่วนมาก เป็นชาวนรก หญิงที่ไหวพริบดีผู้หนึ่งกล่าว ขึ้นว่า ทำไมพวกเราส่วนใหญ่จึงเป็นชาวนรกละ ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์  ท่านตอบว่า ผู้หญิงส่วน ใหญ่ชอบสาปแช่ง,และดื้อดึงต่อสามี และฉันไม่เห็นว่าจะมีผู้ใดบกพร่องทั้งทางปัญญา (ขาดความสุขุม,รอบคอบ) และ(บกพร่องในการปฏิบัติ) ศาสนาในเวลาเดียวกันมากไปกว่าเหล่าสตรีเลย, หญิงผู้นั้นถามว่า โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ ความบกพร่องทางปัญญาและศาสนาเป็นอย่างไรหรือ ? ท่าน ตอบว่า การบกพร่องทางปัญญาก็เช่น การเป็นพยานของสตรีสองคนเท่ากับการเป็นพยานของชายหนึ่งคน นี่คือความบกพร่องทางปัญญา, และระยะหลายคืน (ติดต่อกันรวมทั้งกลางวันด้วย ที่บรรดาสตรีมีประจำเดือน) เธอไม่ได้ละหมาดและถือศีลอดในเดือนรอมฏอน นี่คือความบกพร่องทางศาสนาบันทึกโดยมุสลิม/หมวดที่1/บท ที่36/ฮะดีษเลขที่ 0142
มีหะดิษนึงนะสาวๆๆ อ่านไว้
หญิงนั้น เป็นที่ง่ายสำหรับเขากับการแสวงหาสวนสวรรค์ เพียงแค่เขา นมาซ 5เวลา และระมัดระวังความละอายของนาง และปฏิบัติตามสามีของนาง แน่นอนนางจะได้เข้าสวรรค์ทางประตูไหนก็ได้ที่นางปรารถนา (บันทึกโดยฮิบนุฮิบบาน หะดิษศอเฮี้ยะ)

วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2553

ฤดูกาลต่างๆ บนโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร?

หลายท่านอาจจะเคยสงสัยว่า ฤดูกาลต่างๆ บนโลกของเราเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมเมื่อมีฤดูร้อนแล้ว ถัดไปจึงเป็นฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว และฤดูใบไม้ผลิตามลำดับ
 นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาเรื่องดัง กล่าวและได้ข้อสรุปว่า มีปัจจัยสองประการร่วมกันที่ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ บนโลกของเรา
ปัจจัยแรกได้แก่ แกนหมุนของโลกมีการเอียงไปจากระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ โดยเอียงไปเป็นมุม 23.5 องศา
 
แกนหมุนของโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศาเมื่อเทียบกับระนาบวงโคจร
ที่มา http://www.takahashiamerica.com/
ปัจจัยที่สองได้แก่ การที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เมื่อโลกโคจรและหันซีกโลกเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ บริเวณซีกโลกเหนือก็จะเกิดฤดูร้อนขึ้น โดยที่ดวงอาทิตย์จะปรากฏบนท้องฟ้ายาวนานกว่าช่วงเวลากลางคืน ในขณะเวลาเดียวกันซีกโลกใต้ก็จะเกิดฤดูหนาวเนื่องจากอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์
 
 
 
เมื่อโลกโคจรจากตำแหน่ง ข้างต้นไปอีกครึ่งวงโคจร จะเกิดผลลัพธ์ตรงกันข้าม โดยซีกโลกเหนือจะเกิดฤดูหนาว ในขณะที่ซีกโลกใต้จะเกิดฤดูร้อน โดยเป็นผลอันเนื่องมาจากโลกได้หันซีกโลกใต้เข้าหาดวงอาทิตย์
สำหรับในช่วงระหว่างกลาง ทั้งสองตำแหน่งดังกล่าวในวงโคจร ซีกโลกทั้งสองได้รับปริมาณแสงแดดเท่าๆ กัน โดยจะทำให้เกิดฤดูใบไม้ร่วงและใบไม้ผลิตามลำดับ
 
เอกสารอ้างอิง
 [1] Garlick, M.A., Astronomy, MacMillan, 2004.
 
 
ที่มา : http://www.space.mict.go.th/knowledge.php?id=season
 

เขาจะต้องภูมิใจ

สายลมยามบ่ายจัดพัดเอาผ้าม่านสีครีมปลิวไสว เก้าอี้โยกริมหน้าต่างบานนั้นลั่นดังเอียดออดตามแรงโยกของคนนั่ง ความเงียบ ของสรรพสิ่งทำให้หญิงสาวที่เคยมีภารกิจรัดตัวกลับมีเวลาสำหรับหวนระลึกถึง เรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ขณะที่มือ หนึ่งก็ลูบท้องของตนไปมาอย่างแผ่วเบา
เธอรู้ ดี...บนเก้าอี้ตัวนี้มีเธอนั่งอยู่คนเดียว แต่ไม่ได้มีเธออยู่คนเดียว
 ........................................................................................................
เวลา ๔ ปีเร็วเหมือนชั่วพริบตา อิลฮามยังจำวันแรกที่เธอก้าวสู่รั้วมหาวิทยาลัยได้ ทุกสิ่งดูแปลกใหม่น่าค้นหาโดยเฉพาะ สำหรับเด็กต่างจังหวัดที่จับพลัดจับผลูเข้ามาได้เรียนมหาวิทยาลัย กลางกรุงอย่างเธอ
พ่อไม่มี อะไรจะฝากฝังกับลูกหรอก พ่อที่ตามมาส่งเธอถึงหอพักบอก กับลูกสาวคนเดียว นอกจากอิสลาม...ยึดมันเอาไว้ให้มั่นแล้วลูกจะ ไม่มีวันหลงทาง
อิลฮามจำ ได้ว่าตังเองรับคำหนักแน่นกับพ่อไปในตอนนั้น แต่ครั้นเมื่อชีวิตจริงในมหาวิทยาลัยเริ่มต้น เธอก็ได้เรียนรู้ว่าการใช้ชีวิตในสังคม ที่ความชั่วร้ายแพร่กระจายไปทั่วนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่หวังไว้
ความเป็น น้องใหม่ที่มาจากต่างถิ่น ต่างวัฒนธรรม ทำให้อิลฮามไม่กล้าปลีกตัวออกจากกิจกรรมหลาย ๆ อย่างของมหาวิทยาลัย ที่ใจลึก ๆ ของเธอรู้สึกว่ามันไม่ถูกต้อง ในขณะที่เพื่อนฝูงหน้าใหม่ก็พร้อมจะทำให้เธอสนุกสนานไปกับทุกสิ่งทุกอย่างจน พร้อมจะลืมคำที่รับปาก เป็นมั่นเป็นเหมาะไว้กับผู้เป็นพ่อ
หากด้วย ความเมตตาของอัลลอฮฺ ก่อนที่อิลฮามจะหลวมตัวไปมากกว่านี้ พี่ ๆ จากชมรมมุสลิมก็เข้ามาช่วยดึงเธอออกจากกิจกรรมที่ ทำให้เธอห่างเหินจากอัลลอฮฺเหล่านั้น มาสู่กิจกรรมของชมรมที่ช่วยสร้างความใกล้ชิดระหว่างเธอกับพระองค์ให้มากขึ้น
ทุกกิจกรรมที่เราทำไม่ได้ เราต้องบอกเขานะจ๊ะว่าทำไม่ได้ ไม่ต้องกลัวอะไรทั้งนั้น เพราะผู้เดียวที่เราต้องกลัวคืออัลลอฮฺ" บรรยากาศแห่งการตักเตือนกัน ชี้แนะกัน และแบ่งปันความรู้ให้กันและกันในชมรม ทำให้อิลฮามระลึกถึงบรรยากาศแห่งอิสลาม ที่เธอจากมา ความโหยหาลึก ๆ ในใจทำให้เธอเอาตัวเองเข้าสู่สนามการทำงานเพื่ออิสลามในแวดวงนิสิตนักศึกษา มุสลิมอย่างแข็งขัน และพร้อม ๆ กับที่การทำงานตรงนี้นำพาความอิ่มเอมใจและการปรับปรุงตัวเองให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นมาให้แก่อิลฮาม แต่มันก็ได้นำพาเรื่องที่น่าวิตกกังวลมาให้แก่เธอ
รู้เรื่องพี่คนนี้ กับน้องคนนั้นไหม” “สองคนนี้เขาดู ๆ กันอยู่ ใคร ๆ ก็รู้ทั้งนั้น
พี่เขารู้ศาสนาน่า ไม่มีอะไรน่าห่วงหรอก ก็คงจะแค่คุยโทรศัพท์กันเฉย ๆ เท่านี้แหละ
ไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้งที่อิลฮามได้รับฟังเรื่องราว ทำนองนี้จากพี่น้องมุสลิม มันไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับเยาวชนทั่วไปในสังคมของเรา แต่เกิดขึ้นแม้กระทั้งในกลุ่ม คนที่เรียกตัวเองว่า คนทำงานเพื่ออิสลาม” “ฉันไม่ เข้าใจเลยจริง ๆ หลักการเกี่ยวกับเรื่องชาย-หญิงในอิสลามน่ะมันชัดเจนมาก ๆ เลยน่ะ อย่าว่าแต่โทรศัพท์คุยหรือไปเที่ยวด้วยกันเลย แม้แต่สายตาก็ต้องลด กรุอานบอกไว้ชัดเจน ทำไมเราไม่เกรงกลัวอัลลอฮฺกันบ้าง อิลฮาม เคยรำพันกับเพื่อนสนิท
มันเป็น การงานของชัยฏอนน่ะอิลฮาม เพื่อนตอบ ฉันคิด ว่ามันเป็นทั้งบททดสอบและก็บทลงโทษ สำหรับการใช้ชีวิตรวมกัน ทั้งการทำงานที่ปะปนกันระหว่าง ชาย-หญิง ฉันเคยคุยกับคนทีศาสนาที่ถูกทดสอบเรื่องนี้น่ะ เขาบอกว่ามันยากมากที่จะเอาชนะใจตัวเอง
อิลฮามไม่เห็นด้วยกับประโยคสุด ท้ายของเพื่อนนัก แต่เธอก็เข้าใจมันมากขึ้นเมื่อคนที่ถูกทดสอบกลายเป็นตัวเธอเองเขา เป็นรุ่น พี่ร่วมสถาบันที่ขึ้นชื่อเรื่องความรู้ศาสนา และประเด็นเกี่ยวกับเรื่องศาสนานี่แหละที่เขาโทรมาขอความเห็นจากเธอ หากเมื่อการพูดคุยมีครั้งที่ สอง และครั้งที่สามตามมา ประเด็นในการสนทนาก็เริ่มไม่อยู่กับร่องกับรอยเหมือนครั้งแรก อิลฮามตรวจสอบ หัวใจตัวเองและพบว่าเธอกำลัง ถูกทดสอบแน่แล้ว มีข้ออ้างผุดขึ้นมาในหัวเธอ เสมอเพื่อหาเหตุผลในการรับโทรศัพท์ของเขารวมทั้งข้ออ้างมากมายที่เป็นเหตุผล ทำให้เธอตัดสินใจ ขออนุญาตพ่ออยู่ทำค่ายกับ เพื่อนนักศึกษาที่กรุงเทพฯ ในช่วงปิดเทอมนี้ด้วย เอกสารรายละเอียดของค่ายที่พ่อขอดูไม่มีอะไรผิดปกติ เพราะพ่อไม่รู้ว่าชื่อประธาน ค่ายคือชื่อของเขา!
ก่อนที่อิลฮามจะต้องด่างพร้อย ด้วยฟิตนะฮฺครั้งนี้ อัลลอฮฺได้ช่วยเหลือเธออีกครั้ง เมื่อพ่อส่งข่าวมาบอกว่าแม่เข้าโรงพยาบาล อิลฮามมีสติพอที่จะตัดสินใจ กลับไปเยี่ยมแม่ โดยทิ้งค่ายที่หัวใจเธอเรียกร้องไว้เบื้องหลัง แม้ทีสุดแล้ว แม่จะไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าอาหารเป็นพิษ แต่การกลับบ้านในครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะป้องกันอิลฮามจากการไปในที่ ๆเธอรู้อยู่เต็มอกว่าจะนำฟิตนะฮฺมาให้ หากยังทำให้เธอได้สนทนากับผู้เป็นพ่อในเรื่องที่เด็กหญิงอิลฮามตัวน้อยไม่ เคยหยิบยกมาพูดกับพ่อมาก่อน

พ่อคิดยังไงกับการคบหากันระหว่างชาย-หญิงค่ะ? ลูกสาวถามในวันที่นั่งเฝ้าไข้ แม่อยู่กับพ่อสองคน เอ่อ พอดีมีเพื่อนมุสลีมะฮฺมาปรึกษาหนูในเรื่องนี้น่ะค่ะ” “ทำไมถาม ว่าพ่อจะว่ายังไง ทำไมไม่ถามว่าอิสลามจะว่ายังไง พ่อตอบ ยิ้ม ๆ ถ้าพ่อเห็นด้วยแล้วหมายความว่ามันเป็นสิ่งที่ ทำได้หรือไงล่ะลูก บทบัญญัติเรื่องนี้ชัดเจนอยู่แล้วในอิสลาม ลูกเองก็รู้ดี” “แล้ว ถ้า...ถ้ามีคนดี ๆ เข้ามาล่ะค่ะ หนูควรจะแนะนำเพื่อนยังไงดี...คือคำว่าดี ๆ ของหนู หมายถึงดีในมาตรฐานอิสลามน่ะค่ะประมาณว่าศาสนาดี มีอีหม่าน อะไรอย่างนี้น่ะค่ะ เราควรพิจารณายังไง
พ่อไม่ เข้าใจ มีคนดี ๆ เข้ามา หมายถึงอะไร เข้ามายังไง สำหรับอิสลามแล้วการเข้ามาในเรื่องนี้หมายถึงเข้ามาทางผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเท่านั้นน่ะลูก ไม่ใช่เข้ามาทางเจ้าตัวเขา พ่อคิดว่าหลักการอิสลามเรื่องนี่มีฮิกมะฮฺมากเลยน่ะมันเป็นเครื่องมือช่วย สแกนความเป็นลูกผู้ชายของคนที่เข้ามาให้มุ สลีมะฮฺได้รู้บอกเพื่อนลูกเถอะว่า...ไม่มีผู้ชายดีๆ ในมาตรฐานอิสลามเข้ามาให้เราพิจารณาโดยไม่ผ่านพ่อแม่ของเราหรอก การที่เขา โทรหาเรา เข้ามาเจ๊าะแจ๊ะกับเราโดยไม่ผ่านวลีก็เท่ากับเป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่าเขา ยังไม่ใช่คนดี ก็เขาไม่เดินตามทางที่อิสลามวางไว้แล้วจะ เรียกว่าคนดีตามมาตรฐานอิสลามได้ยังไง
อิลฮามก้มหน้านิ่ง คำตอบของพ่อกระทบใจเธออย่างจัง
อิลฮาม ลูกภูมิใจมั้ยที่มีแม่อย่างแม่ของลูก พ่อถามพลางมองไปยังคนไข้ที่นอน หลับอยู่บนเตียง ภูมิใจซิ ค่ะ อิล ฮามตอบโดยไม่ต้องคิด ทุกวันนี้เธอยังขอบคุณอัลลอฮฺเสมอที่ให้เธอเกิดเป็นลูกของคนคู่นี้ รู้ไหม สมัย แม่ของลูกยังเรียนหนังสืออยู่ พ่อไม่เคยได้ยินมุสลีมีนคนไหนพูดถึงเขาในทางล้อเล้น ไม่ให้เกียรติเลย ไม่ใช่แค่ไม่เคยคบหากับผู้ชายคนไหนน่ะ แม้แต่พูดเล่นด้วยแม่ของลูกก็ยังไม่เคย และนี่เป็นเหตุผลแรก ๆ ที่พ่อเลือกแม่มาเป็นแม่ของลูก รอยยิ้มของพ่อของความภาคภูมิใจอย่างแท้จริง
อิลฮาม บทบัญญัติอิสลามเกี่ยวกับเรื่องชาย-หญิงไม่ใช่แค่ช่วยสแกนคุณสมบัติของมุสลีมีนให้มุสลีมะฮฺได้รู้เท่านั้นน่ะลูก แต่ยังช่วยสแกนคุณสมบัติของมุสลีมะฮฺให้มุสลีมีนได้รู้ด้วยว่า ผู้หญิงคนไหนที่เขาควรจะเลือกมาเป็นแม่ของลูกเขา เชื่อพ่อเถอะว่าสำหรับผู้ชายที่มีศาสนาแล้ว มันต่างกัน แน่นอนระหว่างผู้หญิงที่รู้ ๆ กันอยู่ว่าเคยคบหากับใครมากหน้าหลายตา กับผู้หญิงที่ระมัดระวังแม้แต่บทสนทนากับเพศตรง ข้าม ผู้หญิงที่เดินไปตรงไหนผู้ชายก็มองน่ะหาไม่ยากเลยน่ะลูก แต่ผู้หญิงที่เดินไปตรงไหนแล้วผู้ชายก็ต้องให้เกียรติสิที่หายากลือเกิน

และพ่อหวังว่าลูกของพ่อจะเป็น หนึ่งในผู้หญิงพวกหลัง เพื่อที่ลูกของลูกจะได้ภูมิใจในตัวแม่ของเขา เหมือนอย่างที่ลูกภูมิใจในตัวแม่ของลูกไง คำพูดของผู้เป็นพ่อจริงจังจน อิลฮามไม่กล้าแย้งว่า หนูบอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของเพื่อนน่ะค่ะ ไม่ใช่เรื่องของหนูสักหน่อย! บทสนทนาวันนั้นมีผลกับหัวใจอิล ฮามมาก เธอตัดสินใจแน่วแน่ที่จะปฏิเสธทุกแผนการร้ายของชัยฏอน และขอความช่วยเหลือจาก อัลลอฮฺให้ช่วยรักษาเธอไว้ให้ บริสุทธิ์จากฟิตนะฮฺทั้งมวล และอิลฮามก็ได้เรียนรู้ว่าเมื่อเราเข้มแข็งจริงจ้งแล้ว อีกฝ่ายก็ต้องรามือไปอย่างไม่รู้จะทำอะไรได้ดีไปกว่านั้น อิลฮามจึงภูมิใจอย่างยิ่งที่ เธอผ่านชีวิตสี่ปีในมหาวิทยาลัยมาได้โดยไม่ต้องแปดเปื้อนกับความรักจอมปลอม ใด ๆ เธอรักษาตัวไว้สำหรับคน ๆ เดียว รักษาดวงตาไว้สำหรับมองคน ๆ เดียว รักษาเสียงหวาน ๆ ไว้สำหรับอ้อนคน ๆ เดียว...ด้วยความเชื่อมั่นว่าอัลลอฮฺจะต้องมอบคนที่รักษาเนื้อรักษาตัวให้กับ เธอเช่นกันพราะอัลลอฮฺบอกไว้แล้วว่า ผู้หญิงดีย่อมควรคู่กับผู้ชายดี และคำพูดของอัลลอฮฺนั้นย่อมสัจจริงเสมอ!
สายลมยามบ่ายจัดพัดเอาผ้าม่าน สีครีมปลิวไสว เก้าอี้โยกริมหน้าต่างบานนั้นลั่นดังเอียดออดตามแรงโยกของคนนั่ง หญิงสาวลูบท้องของเธอไปมาเบาๆสัมผัสได้ถึงบางชีวิตที่ดิ้นคลุกคลักอยู่ภายใน...อิลฮามรู้สึกได้ถึงความ อิ่มเอมที่มาพร้อมกับความหนักหนาแห่งภาระหน้าที่ ที่กำลังจะมาถึง การแต่งงานไม่ใช่ตอนจบของชีวิต เหมือนในละครโทรทัศน์ แต่มันคือการเริ่มต้นของภาระหน้าที่ชนิดใหม่ที่ยิ่งใหญ่เหลือเกินโดยเฉพาะสำหรับผู้ศรัทธา เขาจะต้องตระหนังในหน้าที่แห่งการสร้างประชาชาติที่เข้มแข็งให้แก่อิสลามและ เงื่อนไขแรกที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในหน้าที่นี้ก็คือ 

การเลือกคนที่จะมาเป็นคู่คิดในการสร้างเสียงประตูบ้านเปิดออก ใครบางคนให้สลามก่อนย่ำรองเท้าเข้ามา...เพียงได้ยินเสียง รอยยิ้มก็ปรากฏขึ้นบนใบหน้าของอิลฮามโดยไม่รู้ตัว เสียงของผู้ชายที่เดินตามทางของอิลฮามในทุกขั้นตอนก่อนจะได้มาเดินอยู่ใน บ้านเดียวกับเธอในวันนี้ อิลฮามไม่ได้ภูมิใจที่เลือกเขามาเป็นคู่ครองเท่านั้น แต่แน่ใจว่าชีวิตที่ดิ้นขลุกขลักอยู่ในท้องของเธอตอนนี้ก็จะต้องภูมิใจที่ เธอเลือกเขามาเป็นพ่อของแก เท่า ๆ กับที่เขาเลือกเธอมาเป็นแม่ของแกเช่นกัน
Ahmadi Vittaya Foundation School
ด้วยจิตคาราวะและขอขอบคุณ skk agro

วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553

เจิ้งเหอ - แม่ทัพเรือจีนมุสลิม Zheng He

เจิ้งเหอ - แม่ทัพเรือจีนมุสลิม
Zheng He หรือ Cheng Ho
ค.ศ.1371-1433
โดย อัล-ฮิลาล
เจิ้งเหอ (Zheng He หรือ Cheng Ho) (ค.ศ.1371-1433) เป็นผู้บัญชาการกองเรือมหาสมบัติของจีนสมัย ราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368-1644) การเดินเรือสำรวจทางทะเลในระยะเวลา 28 ปีของเจิ้งเหอ ประกอบด้วยกองเรือกว่า 300 ลำ ลูกเรือเกือบ 28,000 ชีวิต ออกสำรวจทางทะเลรวม 7 ครั้ง เดินทางมากกว่า 50,000 กิโลเมตร ท่องต่างแดนมากกว่า 30 ประเทศจากทะเลจีนใต้ไปจนถึงชายฝั่งตะวันออกของอาฟริกา เริ่มต้นเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1405 (พ.ศ.1948) ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราชแห่งราชวงศ์อู่ทองปกครองกรุงศรีอยุธยา สิ้นสุดในปีค.ศ.1433 (พ.ศ.1976) พร้อมกับการเสียชีวิตของเจิ้งเหอ
กองเรือมหาสมบัติ ของจีนเคยติดต่อกับอาณาจักรอยุธยาด้วย กาวิน แมนซี (Gavin Menzies)[1] อดีตทหารเรือชาว อังกฤษ เสนอทฤษฎีว่า ในการเดินเรือครั้งหนึ่งของเจิ้งเหอ เขาน่าจะไปไกลถึงทวีปอเมริกา ซึ่งหากเป็นจริง เขาก็จะเป็นผู้ค้นพบทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัสเกือบร้อยปี
ภูมิหลังเจิ้งเหอ
เจิ้งเหอ เป็นคน ชน ชาติหุย[2]  แซ่ หม่า (มาจากคำภาษาอาหรับว่า มุฮัมหมัด) ซึ่งเป็นแซ่ของ ชาวหุย ส่วนใหญ่ เดิมชื่อ หม่าเหอ เกิดในครอบครัวมุสลิม ที่เมืองคุนหยาง มณฑล ยูนนาน ซึ่งเป็นที่มั่นสุดท้ายของกองทัพมองโกล และพวกที่ภักดีต่อมองโกลทางตอนใต้ของประเทศจีนที่ราชวงศ์หมิงยังยึดไม่ได้ใน สมัยนั้น[3] เขาเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1371 (พ.ศ.1914) ในต้นราชวงศ์หมิง เป็นลูกหลานชั้นที่หกของ ซัยยิด อัจญาล ชัมสุดดีน อุมัร (Sayyid Ajjal Shams al-Din Omar) แม่ ทัพของกองทัพมองโกล จากบุคอรอ เอเชียกลาง (ปัจจุบัน อยู่ในประเทศอุซเบกิสถาน) ซึ่งเป็นผู้ปกครองมณฑลเสฉวนและยูนนานผู้ลือนาม เจิ้งเหอมีพี่ชาย 1 คน พี่สาว 1 คน และน้องสาว 3 คน บิดาของเจิ้งเหอมีนามว่า หม่าฮายี หรือ ฮัจญีหม่า  (Ma Hazhi หรือ Ma Haji) ทั้งพ่อและปู่ของเจิ้งเหอได้ไปทำพิธีฮัจญ์ในมักกะฮ สันนิษฐานจากคำนำหน้าชื่อว่า ฮายี  จึงได้พบเห็นผู้ คนจากทุกสารทิศ และต้องเล่าเรื่องนี้แก่เจิ้งเหออย่างแน่นอน
เมื่อหม่าเหออายุ ได้ 11 ปี ตรงกับช่วงที่กองทัพของ จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิ หมิ งไท่จู่ (ชื่อรัชกาล หงอู่) ปฐมกษัตริย์ ราชวงศ์หมิง นำกำลังทัพเข้ามาปราบปรามที่มั่นสุดท้ายของพวกเชื้อสายมองโกลที่ยังหลงเหลือ อยู่ที่ยูนนาน และยึดครองยูนนานเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรหมิงได้สำเร็จในปีค.ศ.1382 ในเวลานั้นเด็กชายหม่าเหอผู้มีเชื้อสายจากเอเชียกลาง ถูกจับกลับไปยังเมืองหลวง และถูกตอนเป็นขันทีมีหน้าที่รับใช้เจ้าชายจูตี้
หม่าเหอมีความ สามารถสูง เฉลียวฉลาด ได้รับความไว้วางใจอย่างสูง กระทั่งต่อมาได้กลายเป็นแม่ทัพคู่ใจของเจ้าชายจูตี้ ในการทำศึกรบพุ่งกับกองทหารมองโกลทางตอนเหนือ และการยกทัพเข้ายึดนครนานจิง ช่วงชิงราชบัลลังก์จากพระราชนัดดาคือ จักรพรรดิ หมิงฮุ่ยตี้ (ชื่อรัชกาล เจี้ยนเหวิน) ที่สืบราชบัลลังก์ต่อจากหมิงไท่จู่ ปฐมจักรพรรดิราชวงศ์หมิง หม่าเหอมีส่วนสำคัญช่วยให้จูตี้ได้รับชัยชนะขึ้นสู่บัลลังก์เป็นจักรพรรดิ หมิ งเฉิงจู่ (ค.ศ.1403-1424) จักรพรรดิองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์หมิง มีชื่อรัชกาลว่า หย่งเล่อ ในปีค.ศ.1404 จักรพรรดิหมิงเฉิงจู่ตั้งให้หม่าเหอเป็นหัวหน้าขันที และพระราชทานแซ่เจิ้งให้ เรียกว่า เจิ้งเหอ แต่ชื่อที่รู้จักกันดีก็ คือ ซันเป่ากง หรือ ซำปอกง  ตาม บันทึกในประวัติศาสตร์จีน เจิ้งเหอมีรูปร่างสูงใหญ่กว่า 7 ฟุต น้ำหนักเกิน 100 กก. ท่วงท่าเดินสง่าน่าเกรงขามเหมือนราชสีห์ น้ำเสียงกังวานมีพลัง
ภายหลังการเสด็จ ขึ้นครองราชย์ของพระองค์ได้เพียงปีเดียว จักรพรรดิหมิงเฉิงจู่ก็มีบัญชาให้สร้างกองเรือสินค้า เรือรบ และเรือสนับสนุน เพื่อไปเยือนเมืองท่าต่างๆ ในทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย นับเป็นกองเรือที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ชาติจีนและของโลก ในยุคนั้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการออกไปแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้าและเครื่องราช บรรณาการจากรัฐต่างๆ อันจะสร้างความมั่งคั่งให้กับราชสำนักหมิง และความสันติสุขในบรรดาประเทศทางตอนใต้ นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงต้องการออกไปตามหาจักรพรรดิหมิงฮุ่ยตี้ พระราชนัดดา ที่ร่ำลือกันว่าได้ทรงปลอมเป็นพระหลบหนีออกจากวังไปได้ในระหว่างที่พระองค์ ยกทัพเข้ายึดนครนานจิง โดยทรงเชื่อว่าพระราชนัดดาได้หลบหนีไปทางทะเลจีนใต้
ทั้งนี้ จักรพรรดิหมิงเฉิงจู่ทรงมอบภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้ให้กับเจิ้งเหอ ในการควบคุมการก่อสร้างกองเรืออันยิ่งใหญ่ และเป็นแม่ทัพผู้บัญชาการสูงสุด ออกสมุทรยาตราไปบนผืนท้องสมุทร ในฐานะที่เป็นตัวแทนแห่งองค์จักรพรรดิมังกร การเดินทางสำรวจทางทะเลของเจิ้งเหอถูกบันทึกไว้โดย มุฮัมหมัด หม่า ฮวน หรือ มุฮัมหมัด ฮาซัน หนุ่ม จีนมุสลิม จากชนชาติหุย ชนชาติเดียวกับเจิ้งเหอ เขาสามารถพูดภาษาอาหรับได้ และเป็นล่ามให้เจิ้งเหอ เขาบันทึกการสำรวจทะเลของเจิ้งเหอในหนังสือชื่อ ยิงใยเช็งลัน หรือ การ สำรวจชายฝั่งมหาสมุทร (Ying yai sheng lan หรือ The Overall Survey of the Ocean's Shores) 

เส้นทางเดินเรือ
เส้นทางเดินเรือของเจิ้งเหอเริ่มต้นที่นครนานจิง จากนั้นแวะไปยังเมืองเหล่านี้คือ จามปา (Champa ตอนกลางของเวียดนาม) กัมพูชา (Cambodia กัมพูชา) สยาม (Siam ประเทศไทย) มะละกา (Malacca มาเลเซีย) ปาหัง (มาเลเซีย) กลันตัน (Kelantan มาเลเซีย) บอร์เนียว (Borneo เกาะบอร์เนียว หรือกาลิมันตัน) มัชฌปาหิต (Majapahit อาณาจักรฮินดูบนเกาะชวา อินโดนีเซีย) ซุนดา (Sunda เกาะชวา อินโดนีเซีย) ปาเล็มบัง (Palembang เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย) เซมูดารา (Semudara เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย) Aru (อินโดนีเซีย) แลมบรี (Lambri อินโดนีเซีย) Lide (อินโดนีเซีย) Batak (อินโดนีเซีย) ศรีลังกา (Ceylon) มัลดีฟส์ (Maldives มัลดีฟส์) กาลิกัท (Calicut อินเดีย) คีลอน (Quilon อินเดีย) มะละบาร์ (Malabar อินเดีย) ฮอร์มุซ (Hormuz เปอร์เซีย ปัจจุบันอยู่ใน อิหร่าน) โดฟา (Dhofar) เอเดน (Aden เยเมน) ซานา (Sana) มักกะฮฺ (Mecca ซาอุดิอารเบีย) มากาดิซู (Magadishu) บราวา (Brawa โซมาเลีย) มาลินดิ (Malindi เคนยา) 
  
เปรียบเทียบกองเรือของเจิ้งเหอกับกองเรือของนักสำรวจชาวตะวันตก
เรือมหาสมบัติ หรือ เป่า ฉวน อันเป็นเรือธงของเจิ้งเหอนั้น ตามบันทึกในสมัยราชวงศ์หมิงระบุว่า มีขนาดความยาวถึงลำละ 400 ฟุต กว้าง 160 ฟุต มี 9 เสากระโดงเรือ ในขบวนกองเรือประกอบไปด้วยเรือเสบียง เรือกำลังพล เรือรบ ฯลฯ รวมกว่า 300 ลำ ลูกเรือเกือบ 28,000 ชีวิต
หากนำเรือมหา สมบัติของจีนมาเปรียบเทียบกับเรือ ซานตา มาเรีย (Santa Maria) หรือ เรือธงของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) นักเดินเรือชาวอิตาลี ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ค้นพบโลกใหม่คือทวีปอเมริกา ในปี ค.ศ.1492 ซึ่งห่างจากปีที่กองเรือของเจิ้งเหอออกสำรวจมหาสมุทรครั้งแรกถึง 87 ปี เรือซานตา มาเรียของโคลัมบัส วีรบุรุษผู้ค้นพบโลกใหม่ ยังเล็กกว่าเรือมหาสมบัติของจีนถึง 4 เท่า โดยมีความยาวเพียง 85 ฟุต กว้าง 20 ฟุต มีกองเรือติดตาม 3 ลำ และลูกเรือ 87 คน
ต่อมาในปี ค.ศ.1498 วาสโก ดา กามา (Vasco Da Gama) นักเดินเรือชาว โปรตุเกส ได้ล่องเรืออ้อมแหลมกูดโฮปที่อาฟริกาใต้มาจนถึงชายฝั่งตะวันออก ระหว่างการเดินเรือไปยังอินเดียได้เป็นผลสำเร็จ กองเรือของเขาก็มีความยาวเพียง 85-100 ฟุต และลูกเรือ 265 คนเท่านั้น และในปี ค.ศ.1521 เฟอร์ดินันด์ แมคแจลลัน (Ferdinand Magallan) นักเดินเรือชาวโปรตุเกส เดินเรือมาถึงทะเลจีนใต้ ด้วยการเดินเรือมาทางตะวันตกเป็นครั้งแรก กองเรือของเขามีความยาวเพียง 100 ฟุต และมีลูกเรือเพียง 160 คน เท่านั้น
สินค้าและเครื่อง บรรณาการ
กองเรือมหาสมบัติ บรรทุกสินค้าเลื่องชื่อของจีน เช่น กระเบื้องลายคราม ผ้าไหม เครื่องเขิน และสิ่งของมีค่าต่างๆ เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าต่างแดนที่ประเทศจีนต้องการ เช่น งาช้าง นอแรด กระดองกระ ไม้หายาก เครื่องหอมเช่น กำยาน ยา ไข่มุก และหินมีค่าต่างๆ พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการจากผู้ครองดินแดนต่างๆ กลับมาถวายแด่องค์จักรพรรดิที่นครนานจิง นอกจากนี้ยังนำสัตว์ต่างถิ่น เช่น สิงโต เสือดาว นกกระจอกเทศ ม้าลาย และยีราฟ (โดยบอกว่าเป็น กิเลน สัตว์มงคลในเทพนิยายจีน) กลับไปถวายด้วย ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบมาก และกลายเป็นของแปลกและน่าตื่นเต้นสำหรับชาวจีนที่พบเห็นเป็นครั้งแรก
ที่เมืองท่าของ อาหรับ ชาวจีนมีความสนใจด้านยาและการบำบัดโรคของชาวอาหรับเป็นพิเศษกว่าอย่างอื่น หลังจากมีการพิมพ์หนังสือทางการแพทย์อาหรับในประเทศจีนที่ชื่อว่า หุย เหยาฟัง หรือ ตำรับยาชาวหุย หรือ ตำรับยาชาวจีนมุสลิม (Hui yao fang) ชาวจีนได้แลกเปลี่ยนผ้าไหมและเครื่องลายครามของตน กับสินค้าของพ่อค้าอาหรับดังต่อไปนี้คือ
1. ว่านหางจระเข้ ซึ่งใช้สำหรับทำความสะอาดและเป็นยาบำรุงกำลัง
2. myrrh เป็น ยางไม้มีกลิ่นหอม เป็นยากันบูดของชาวอียิปต์โบราณ ที่ชาวจีนเชื่อว่าทำให้เลือดไหลเวียนดี ร่างกายกระปรี้กระเปร่าขึ้น
3. benzoin ยาง ไม้เหนียวกลิ่นหอมช่วยให้หายใจสะดวก
4. storax ยา แก้อักเสบ
5. mubietzi ยา สมุนไพรแก้แผลเปื่อย
ลักษณะกองเรือมหา สมบัติ
เรือมหาสมบัติ ต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือหลงเจียง (Longjiang) เมืองนานจิง อดีตเมืองหลวงอันเก่าแก่ของจีน การต่อเรือไม้ที่หลงเจียงเริ่มต้นด้วยการวางตำแหน่งตัวลำเรือ และฝากั้นช่องเรือมีระยะห่างเป็นระเบียบเท่าๆ กัน ตัวลำเรือถูกปิดด้วยแผ่นกระดานรูปตัดทางยาวที่วางเหลื่อมกันเป็นชั้นๆ เสากระโดงจะถูกวางอย่างมั่นคงอยู่บนหัวเรือ เรียกว่า "mao tan" (หรือแท่นบูชาสมอเรือ) แผ่นกระดานถูกตอกหมันเรือให้ยึดกันไว้ด้วยเส้นใยปอกระเจา และใช้ปูนขาวและน้ำมันตังอิ๋วชโลมซ้ำเข้าไปอีกที ตะปูเหล็กที่ใช้ตอกแผ่นกระดานก็ถูกชโลมน้ำมันด้วยเพื่อป้องกันสนิมที่จะ ทำลายใยไม้
ส่วนผสมของน้ำมัน ตังอิ๋วนั้นเริ่มแรกต้องเคี่ยวบนไฟให้งวด และแข็งตัวพอสมควรเพื่อชโลมกันน้ำรั่วซึมตัวเรือ ซึ่งชาวจีนรู้จักใช้สิ่งเหล่านี้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ในขณะที่เรือที่แล่นในมหาสมุทรอินเดียโดยทั่วไปสมัยนั้น ใช้โคลนและมันหมูในการยึดแผ่นกระดานเรือเข้าด้วยกัน เมื่อใช้ไปนานๆ แผ่นกระดานเรือจะแยกออกจากกัน ทำให้เรือรั่วเสียหายได้ง่าย
เสากระโดงเรือ สำเภาของจีนโดยทั่วไปจะทำมาจากไม้เฟอร์ (fir) ที่แข็งแรง ไม้ shanmu ไม้ที่ใช้ทำตัวเรือและฝากั้นช่องในเรือทำจากต้นเอล์ม (elm) ไม้การบูร ไม้ sophora  หรือไม้ nanmu ซึ่งเป็นไม้สนซีดาร์ (cedar) ชนิดพิเศษจากมณฑลเสฉวน (Sichuan) หางเสือ ทำจากไม้ต้นเอล์ม ส่วนคันหางเสือหรือพังงาทำมาจากไม้โอ๊ค กรรเชียงเรือทำมาจากไม้เฟอร์ ไม้ juniper ซึ่งเป็น ไม้จำพวกสน และไม้ catalpa
อู่ต่อเรือที่หลง เจียงแบ่งห้องเก็บของเป็น 10 แถวๆ ละ 60 ห้อง ซึ่งใช้สำหรับเก็บวัสดุที่ใช้สำหรับต่อเรือของกองเรือมหาสมบัติ ซึ่งมีทั้งแผ่นกระดานจากซากเรือเก่าๆ ที่กู้ขึ้นมาด้วย
เรือเหล่านี้มี หัวเรือเรียว แหลมราวกับมีด ที่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมขนาดใหญ่ได้ ส่วนตัวเรือจะบานออกมีดาดฟ้ายื่นออกมา กระดูกงูเรือออกแบบเป็นรูปตัววี (V) เพื่อ ให้เรือไม่โคลง หัวเรือสูง เรือมี 4 ชั้น ชั้นล่างสุดบรรจุด้วยหินและดินเพื่อถ่วงน้ำหนักของเรือไม่ให้โคลง ชั้นที่สอง สำหรับเป็นที่พักลูกเรือและห้องเก็บของ ชั้นที่สามเป็นครัวกลางแจ้ง ห้องอาหารและหอบังคับการเดินเรือ ชั้นที่สี่เป็นชั้นสำหรับกองปฏิบัติการเดินเรือ หัวเรือมีความแข็งแรงมากและถูกใช้สำหรับดันเรือเล็ก นอกจากนี้ได้ออกแบบมาเพื่อให้ต้านทานแนวปะการังซึ่งมีอยู่มาก และทำอันตรายต่อเรือมานักต่อนักแล้วในแถบทะเลจีนใต้
ความแข็งแกร่งของ เรือมหาสมบัติส่วนหนึ่ง มาจากการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ของชาวจีนเอง ช่องตรงกราบเรือใช้ลำไผ่หลายต้นอัดเข้าไปเพื่อกันน้ำรั่วซึม เรือมหาสมบัติได้ออกแบบหางเสือให้มีดุลยภาพและสามารถยกขึ้นหรือลงได้ ทำให้เรือทรงตัวได้ดีขึ้นเหมือนเป็นกระดูกงูเรืออีกอันหนึ่ง หางเสือชนิดพิเศษที่ทำให้เรือทรงตัวดีขึ้นนี้ถูกวางไว้หัวเรือ เพื่อทำให้เรือลำใหญ่ๆ เหล่านี้ถือหางเสือได้ง่ายขึ้น ในขณะที่ชาวยุโรปรู้จักใช้การแบ่งกราบเรือเป็นช่องและหางเสือที่มีดุลยภาพ นี้ในราวตอนปลายศตวรรษที่ 18 หรือต้นศตวรรษที่ 19
เรือมหาสมบัติมี เสากระโดงเรือ 9 ต้น ใบเรือเป็นรูปสี่เหลี่ยมทำด้วยผ้าไหม 12 ใบ ทำให้ใช้ประโยชน์จากแรงลมได้ดีที่สุดและมีความเร็วกว่าเรือสำเภาปกติของจีน ทั้งๆ ที่เรือมหาสมบัติที่บรรทุกปืนใหญ่ 24 กระบอกที่มีความยาวกระบอกละ 8-9 ฟุต นี้ไม่ได้ถือเป็นเรือรบ และไม่มีดาดฟ้าเรือใหญ่ๆ เพื่อการต่อสู้ ในทางกลับกัน เรือมหาสมบัติถูกออกแบบมาให้เป็นเรือที่หรูหรา มีห้องโถงใหญ่สำหรับไว้ต้อนรับอาคันตุกะของพระจักรพรรดิ ห้องโถงที่มีหน้าต่างและแบ่งเป็นช่องๆ ประดับประดาด้วยระเบียงและราวซี่ลูกกรงที่สวยงาม ที่เก็บสินค้าในเรือเต็มไปด้วยผ้าไหมราคาแพงและเครื่องลายครามสำหรับแลก เปลี่ยนกับประเทศต่างแดน
ตัวลำเรือได้รับ การแกะสลักและวาดลวดลายอย่างงดงาม บริเวณหัวเรือถูกประดับด้วยหัวสัตว์ และวาดลวดลายเป็นตามังกร ตัวลำเรือวาดลวดลายมังกรและนกอินทรีเพื่อความเป็นสิริมงคล บริเวณท้องเรือบรรจุด้วยปูนขาว ผ้าสักหลาดมีขนข้างเดียวถูกเก็บไว้บริเวณแนวเรือที่ขนานกับน้ำทะเล ในจำนวนเรือ 317 ลำนั้นไม่แน่ว่าจะมีเรือขนาดใหญ่กี่ลำที่พระจักรพรรดิสั่งให้ต่อที่นานจิง ช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปีค.ศ.1405 ดังที่ Lou Maotang นักประพันธ์ชาวจีนเคย ตั้งข้อสังเกตไว้ใน San Bao taijian Xiyang ji tongsu yanyi วรรณกรรมที่เขาประพันธ์ขึ้นในศตวรรษที่ 16 เกี่ยวกับสมุทรยาตราของเจิ้งเหอว่า ในกองเรือมหาสมบัติอาจมีเรือขนาดใหญ่เพียง 4 ลำ คือสำหรับแม่ทัพเจิ้งเหอ และรองแม่ทัพของเขาเท่านั้น
จากรายงานทาง ประวัติศาสตร์ยืนยันว่า กองเรือมหาสมบัติประกอบด้วยเรืออีกหลายชนิดและหลายขนาด เรือขนาดใหญ่รองลงมาจาก เรือมหาสมบัติ คือ เรือบรรทุกม้า ที่มีเสากระโดงเรือ 9 ต้น มีขนาดยาว 339 ฟุตและกว้าง 138 ฟุต เรือเหล่านี้ใช้บรรทุกม้า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าระดับประเทศ นอกจากนี้ สินค้าของวังหลวงและวัสดุก่อสร้างนั้น เป็นสิ่งจำเป็นในการซ่อมแซมเรือกลางมหาสมุทร  
นอกจากนี้มี เรือ บรรทุกสัมภาระ  ที่มีเสากระโดงเรือ 7 ต้น มีความยาวของตัวเรือ 257 ฟุตและกว้าง 115 ฟุต เป็นเรือบรรทุกอาหารสำหรับลูกเรือที่มีจำนวนมากถึง 28,000 คนในการสำรวจบางครั้ง เรือขนาดเล็กลงมาเป็น เรือลำเลียงทหาร ซึ่งมีเสากระโดงเรือ 6 ต้น ลำตัวเรือยาว 220 ฟุตและกว้าง 83 ฟุต ใช้ในการขนส่งกองทหาร นอกจากนี้ยังมีเรือรบ 2 แบบ แบบแรก มีเสากระโดงเรือ 5 ต้น ขนาดตัวเรือยาว 165 ฟุต ส่วนแบบที่สองจะเล็กกว่าแต่แล่นใบเร็วกว่าจะมีความยาว 120-128 ฟุต ไว้จัดการกับโจรสลัดในท้องทะเล
มีการสร้างถัง บรรจุน้ำขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับลูกเรือของกองเรือมหา สมบัติใช้ดื่มกินเป็นระยะเวลา 1 เดือนหรือมากกว่า ซึ่งถือเป็นกองทัพเรือรายแรกของโลกที่มีการเตรียมการณ์พร้อมเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม โดยปกติกองเรือจะพยายามหยุดที่ท่าเรือทุกๆ 10 วันเพื่อเติมน้ำ ซึ่งคาดว่าในการสำรวจทะเลครั้งใหญ่ต่อๆมา คงแวะ20ครั้งหรือมากกว่า
การสื่อสารในกอง เรือ
การสื่อสารในท้อง ทะเลระหว่างเรือลำต่างๆ ของกองเรือมหาสมบัติทำได้ด้วยระบบเสียงและแสงที่ประณีตมาก เรือทุกลำจะมีธงใหญ่หนึ่งผืน ระฆังเตือนสัญญาณ ธงสีต่างๆ 5 ผืน กลองใหญ่ 1 ลูก ฆ้องหลายลูก และโคมไฟ 10 อัน สัญญาณเสียงใช้เพื่อออกคำสั่งบนเรือ ใช้กลองในการเตือนเรือลำอื่นๆ สำหรับหลบภัยจากพายุ ใช้โคมไฟเป็นสัญญาณยามค่ำคืนหรือยามอากาศขมุกขมัว ใช้นกพิราบสำหรับการสื่อสารทางไกล เรือแต่ละลำจะปักธงสัญญาณสีต่างๆ กันเพื่อแยกความแตกต่าง และธงดำที่มีตัวอักษรขาวจะบ่งบอกว่าเรือลำนั้นอยู่ในกองใด หมวดใด
การบัญชาการในกอง เรือและขบวนลูกเรือ
ในกองเรือนอกจาก มีมหาขันทีเจิ้งเหอผู้เป็นผู้บัญชาการกองเรือแล้ว มีขันทีอีก 7 คนเป็นตัวแทนของพระจักรพรรดิและเป็นคณะทูตของประเทศ ขันที 10 คนเป็นผู้ช่วยฑูต และขันทีอีก 52 คนทำงานด้านอื่น การบัญชาการทัพเรือยังมีนายพลเรือ 2 นาย ดูแลกองเรือทั้งหมด มีผู้บังคับกองพล 93 นาย ผู้บังคับกองพัน 104 นาย และผู้บังคับกองร้อย 103 นาย
กัปตันเรือแต่ละ ลำได้รับการแต่งตั้งจากพระจักรพรรดิและมีอำนาจที่จะ สั่งเป็นสั่งตายได้ เพื่อความเป็นระเบียบของกองเรือ นอกจากนี้ในกองเรือยังมีเลขานุการ 2 คนเป็นผู้ดูแลด้านเอกสาร เลขานุการอาวุโสคนหนึ่งมาจากกรมพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งเป็นกรมที่ต้องจัดหาข้าวสารและฟางหรือหญ้าแห้งสำหรับกองเรือ มีเจ้าหน้าที่จากกรมการศาสนา 2 คนมาดูแลด้านพิธีการทูต มีโหร 1 คนสำหรับทำนายและพยากรณ์ดินฟ้าอากาศ ดูปฏิทินและอธิบายปรากฎการณ์ธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีอาจารย์อีก 10 คน ผู้รู้หนังสือต่างประเทศ มาเป็นล่ามบนเรือ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีล่ามภาษาอาหรับ และผู้ที่รู้ภาษาเอเชียกลาง (เตอร์ก - เปอร์เซีย)รวมอยู่ด้วย
กองเรือมีหมอและ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ 180 คนเพื่อเก็บรวมรวบสมุนไพรจากต่างแดน มีสัดส่วนเจ้าหน้าที่การแพทย์ 1 คนต่อลูกเรือ 150 คน นอกจากนี้ยังมีช่างฝีมือด้านต่างๆ ไว้ซ่อมแซมเรือหากมีปัญหากลางทะเล ลูกเรือทุกคนตั้งแต่ระดับต่ำสุดจนถึงสูงสุด จะได้รับรางวัลเป็นเงินทอง และเสื้อผ้าจากพระจักรพรรดิเมื่อเดินทางกลับถึงเมืองจีน พวกเขาและครอบครัวจะได้รับรางวัลเป็นพิเศษ หากเสียชีวิตลงหรือบาดเจ็บระหว่างการเดินทาง
สมุทรยาตราทั้ง 7 ครั้ง
การเดินเรือทั้ง 7 ครั้งของเจิ้งเหอมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1) ครั้งที่ 1 (ค.ศ.1405-1407 /พ.ศ.1948-1950) เจิ้งเหอเป็นผู้บัญชาการ มีขันที หวัง จิ่งหง (Wang Jing hong)  เป็นรองแม่ทัพ[4] กองเรือจำนวน 317 ลำ พร้อมด้วยลูกเรือ 27,870 ชีวิต จอดแวะที่จามปา (เวียตนาม) มัชฌปาหิต บนเกาะชวา และเซมูดารา ปาเล็มบัง และ Deli ชายฝั่งด้านเหนือของเกาะ สุมาตรา จากนั้นได้เดินเรือไปถึงศรีลังกา และเมืองท่ากาลิกัท ประเทศอินเดีย ซึ่งเรียกกันว่า ประเทศที่ยิ่งใหญ่แห่งมหาสมุทรตะวันตก (the Great Country of the Western Ocean)  กองเรือของเจิ้งเหอได้ปราบปรามกลุ่มโจรสลัดที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ในการเดินเรือบริเวณช่องแคบมะละกา และจับหัวหน้าโจรสลัดซึ่งเป็นคนจากมณฑลกวางตุ้งนาม เฉินจู่อี้ (Chen Zuyi ) มาสำเร็จโทษที่นครนานจิง
เจิ้งเหอไม่พบ ร่องรอยของอดีตจักรพรรดิหมิงฮุ่ยตี้ที่สันนิษฐานว่า อาจหลบหนีมาอยู่อาศัยอยู่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในปี ค.ศ.1407 จีนได้เข้ารุกรานอันนาม (Annam) หรือ เวียดนามเหนือ และยึดครองอยู่จนถึงปี ค.ศ.1427
2) ครั้งที่ 2 (ค.ศ.1407-1409 / พ.ศ.1950-1952) เจิ้งเหอเป็นผู้บัญชาการ มีขันทีหวังจิ่งหงเป็นรองแม่ทัพ รวมทั้ง หู เซียน (Hou Xian)[5] คาดว่าใน การเดินเรือครั้งนี้ กองเรือของเจิ้งเหอได้นำตัวฑูตอยุธยาที่เดินทางไปยังราชสำนักหมิงด้วยตัวเอง ก่อนหน้านี้กลับไปส่งที่เมืองอยุธยาด้วย นอกจากนี้เจิ้งเหอได้แต่งตั้งเจ้าเมืองคนใหม่ของเมืองกาลิกัท ในการเดินเรือครั้งที่ 2 นี้ กองเรือจอดแวะที่จามปา สยาม (อยุธยา) มัชปาหิต (Majapahit) บนเกาะชวา และเซมูดารา และ Deli ชายฝั่งด้านเหนือของเกาะสุมาตรา จากนั้นได้เดินเรือไปถึงศรีลังกา และเมืองท่ากาลิกัท ประเทศต่างๆ ส่งบรรณาการที่มีค่า รวมทั้งนกและสัตว์หายาก
เชื่อกันว่า การเข้ามาถึงสยามหรือกรุงศรีอยุธยาของกองเรือเจิ้งเหอในปีนั้น ทำให้มีการเปลี่ยนราชวงศ์ของอยุธยา เจ้านครอินทร์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ ผู้เคยไปเยือนและพำนักในราชสำนักหมิงนับปี ก้าวขึ้นมาเป็นกษัตริย์อยุธยาแทนสมเด็จพระรามราชาธิราชแห่งราชวงศ์อู่ทอง ซึ่งปกครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ในขณะนั้น
3) ครั้งที่ 3 (ค.ศ.1409-1411 / พ.ศ.1952-1954) นอกจากเจิ้งเหอและหวังจิ่งหงแล้ว มี เฟ่ย สิน (Fei Xin)[6] ร่วมเป็นกำลัง สำคัญในการนำกองเรือ ในการเดินเรือครั้งนี้ จีนให้ความสำคัญกับเรื่องมะละกามากเป็นพิเศษ มะละกาเป็นเมืองท่าบนชายฝั่งมาเลย์ที่เริ่มมีความสำคัญ ในขณะที่แวะที่เมืองมะละกา เจิ้งเหอได้รับรองอำนาจการปกครองมะละกาของปรเมศวร และมอบตราเป็นทางการประกาศว่ามะละกาเป็นเมืองในความคุ้มครองของจักรวรรดิจีน จีนเพิ่มอำนาจมะละกาเพื่อให้คานอำนาจกับอยุธยาและชวา และเพื่อยืนยันอำนาจการค้าของจีนในช่องแคบมะละกา
หลังแวะที่เซมู ดารา กองเรือแล่นต่อไปยังศรีลังกา ที่นี่ชาวพื้นเมืองเปิดศึกแย่งชิงอำนาจกัน กษัตริย์ของศรีลังกาชื่อ Alagakkonara แสดงท่าทีไม่เคารพโอรสแห่งสวรรค์ และวางแผนโจมตีกองเรือของเจิ้งเหอ กองทหารจีนจึงบุกเข้าไปยึดเมือง จับกุมตัวกษัตริย์ แล้วตั้งกษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นแทน ส่วนกษัตริย์องค์เดิมถูกกองเรือจีนนำกลับไปนครนานจิง เพื่อให้องค์จักรพรรดิพิจารณาโทษ แต่จักรพรรดิหมิงเฉิงจู่พระราชทานอภัยโทษให้ ต่อมาเจิ้งเหอนำตัวกษัตริย์ศรีลังกากลับมาส่งที่เดิมในการเดินเรือครั้งที่ 4
4) ครั้งที่ 4 (ค.ศ.1413-1415 / พ.ศ.1956-1958) การเดินทางครั้งนี้ไปไกลถึงเมืองฮอร์มุซ และอ่าวเปอร์เซียเป็นครั้งแรก กองเรือจอดแวะที่จามปา เกาะชวา ชายฝั่งมาเลย์ ศรีลังกา มัลดีฟส์ เมืองท่าของอินเดีย และฮอร์มุซ ส่วนหนึ่งของกองเรือแล่นไปอ่าวเบงกอล และนำยีราฟกลับมาถวายพระจักรพรรดิ ชาวจีนคิดว่า ยีราฟคือกิเลน สัตว์นำโชคในเทพนิยายของจีน
ที่เกาะสุมาตรา เจิ้งเหอใช้กำลังทหารจับกุมตัวเซกานดาร์ (Sekanda)  ผู้นำกบฏแห่งเมืองเซมูดารา (Semudara) บน เกาะสุมาตรา กลับมาสำเร็จโทษที่นครนานจิง เนื่องจากกษัตริย์ของเมืองที่ชื่อ ซัยนุ อบิดิน (Zaynu-'l-Abidin) ส่งฑูตไปร้องเรียน จักรพรรดิจีนที่เมืองนานจิง การเดินทางครั้งนี้ทำให้กองเรือจีนมีอิทธิพลเหนือน่านน้ำมหาสมุทรอินเดีย อย่างสูง
ในปี ค.ศ. 1415 จักรพรรดิหมิงเฉิงจู่ทรงย้ายเมืองหลวงจากนานจิงไปยัง ปักกิ่ง หรือเมือง เป่ยผิง เดิม ในปีนี้กษัตริย์จากมะละกาพร้อมด้วยพระมเหสี และพระโอรส เดินทางไปยังราชสำนักหมิง เพื่อถวายบรรณาการต่อองค์จักรพรรดิ
5) ครั้งที่ 5 (ค.ศ.1417-1419 / พ.ศ.1959-1962) ในการเดินทางครั้งนี้ กองเรือได้นำคณะทูตต่างแดน 19 คนที่มากับกองเรือของเจิ้งเหอครั้งที่ผ่านมาเพื่อนำบรรณาการมาถวายแด่พระ จักรพรรดิจีน กลับไปส่งยังประเทศของเขาเหล่านั้น ครั้งนี้เจิ้งเหอได้นำกองเรือมหาสมบัติมาเทียบท่าถึงชายฝั่งทวีปแอฟริกา ตะวันออกเป็นครั้งแรก
ช่วงต้นของการ เดินเรือ ขณะแวะจอดที่เมือง ฉวนโจว (Quanzhou) เพื่อคัดเลือกลูกเรือ เพิ่มเติมจากหมู่บ้านมุสลิมเล็กๆ ที่ชื่อ ไป่ฉี (Baiqi) ด้านเหนือของเมือง[7] เจิ้งเหอได้เข้าห้ามปรามการประหัตประหารชาวมุสลิมที่นั่น จากนั้นกองเรือได้แวะจอดที่เมืองท่าหลายแห่งในจามปาและชวา ที่ปาเล็มบัง และเมืองท่าหลายเมืองบนเกาะสุมาตรา แวะที่มะละกาบนคาบสมุทรมาเลย์ เกาะมัลดีฟส์ ศรีลังกา โคชินและกาลิกัท จักรวรรดิจีนโดยเจิ้งเหอได้รับรองกษัตริย์องค์ใหม่แห่งเมืองโคชิน ชื่อโคยะรี เพื่อป้องกันการคุกคามจากเพื่อนบ้าน คือเมืองกาลิกัท กองเรือได้สำรวจชายฝั่งอารเบียจากเมืองฮอร์มุซจนถึงเอเดน และชายฝั่งทะเลตะวันออกของอาฟริกา
การเดินทางครั้ง นี้ เจิ้งเหอบันทึกไว้ว่า เจ้าเมืองฮอร์มุซถวายสิงโต เสือดาว และม้า เจ้าเมืองเอเดนถวายยีราฟ เมืองมากาดิซูถวายม้าลายและสิงโต เมืองบราวา (Brava) ถวายอูฐ (เจิ้งเหอบรรยายว่า ซึ่งวิ่งได้ 1,000 ลี้) และนกกระจอกเทศ (เจิ้งเหอบันทึกว่า อูฐที่บินได้)[8]
6) ครั้งที่ 6 (ค.ศ.1421-1423 / พ.ศ.1964-1966) การเดินเรือครั้งนี้เอง ที่กาวิน แมนซี ได้เสนอทฤษฎีการเดินเรือสำรวจโลกใหม่ของกองเรือมหาสมบัติของจีน ในหนังสือชื่อ 1421 : The Year China Discovered the World (ค.ศ.1421: ปีที่จีนค้นพบทวีปอเมริกา) ว่าได้ ไปค้นพบทวีปอเมริกาก่อนคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ถึง 70 ปี พร้อมทั้งได้เดินเรือสำรวจทวีปอเมริกาเหนือ ขั้วโลกเหนือ อเมริกาใต้ ขั้วโลกใต้ กระทั่งข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกมาถึงทวีปออสเตรเลีย และกลับสู่ประเทศจีนทางด้านตะวันออก ซึ่งถือเป็นการสำรวจรอบโลกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเดินเรือของโลก
นอกจากนำตัวคณะ ทูตจากเมืองฮอร์มุซและประเทศต่างๆ ซึ่งมากับกองเรือครั้งที่ผ่านมากลับไปส่งแล้ว การเดินเรือครั้งนี้กองเรือได้สำรวจชายฝั่งอาฟริกามากกว่าเดิม ที่เซมูดารา กองเรือได้แยกไปสำรวจตามที่ต่างๆ ส่วนใหญ่ของกองเรือเดินทางไปเอเดน และเมืองชายฝั่งตะวันออกของอาฟริกา
ปี ค.ศ.1419-23 มีการก่อกบฏที่แคว้นอันนาม
ปี ค.ศ.1421 ไฟไหม้พระราชวังต้องห้ามที่ปักกิ่ง จักรพรรดิหมิงเฉิงจู่อนุญาตให้มีการวิพากวิจารณ์พระองค์ แต่ภายหลังพระองค์กลับสั่งประหารผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์
ปี ค.ศ.1422 จักรพรรดิหมิงเฉิงจู่วางแผนโจมตีมองโกลทางด้านเหนือ
ปี ค.ศ.1424 จักรพรรดิหมิงเฉิงจู่สิ้นพระชนม์ระหว่างเดินทัพไปปราบมองโกล
ปี ค.ศ.1424 พระโอรสองค์โตของจักรพรรดิหมิงเฉิงจู่ขึ้นครองราชย์มีชื่อว่า จักรพรรดิหมิงเหยินจง ชื่อรัชกาล หงชวี่ พระองค์ทรงเชื่อฟังขุนนางลัทธิขงจื๊อ และจะลดการเก็บภาษีที่นำมาใช้จ่ายสร้างกองเรือลง
ปีค.ศ.1424 พระจักรพรรดิออกพระราชโองการให้หยุดการสำรวจทะเลของกองเรือมหาสมบัติ
ปีค.ศ.1425 พระจักรพรรดิสิ้นพระชนม์
ปีค.ศ.1425-1435 องค์ชาย จูจานจี ขึ้นเป็นพระจักรพรรดิ หมิงเซวียนจง เมื่อพระชนม์ได้ 26พรรษา มีนามรัชกาลว่า ซวนเด๋อ (Xuande)
ปีค.ศ.1430 กองเรือมหาสมบัติไม่ได้ออกท่องสมุทรมา 6 ปีเต็ม พระจักรพรรดิหมิงเซวียนจงทรงเริ่มมองเห็นว่า ประเทศต่างแดนที่มาถวายบรรณาการแก่ราชสำนักหมิงมีจำนวนลดน้อยลงจนเห็นได้ชัด คงเป็นเพราะอิทธิพลของจีนในการค้าต่างแดนลดลง พระองค์จึงตั้งปณิธานที่จะฟื้นฟูพระราชอำนาจของราชวงศ์หมิงต่อต่างแดน และจะทำให้ หมื่นประเทศมาเป็นแขกของเรา อีกครั้ง ทรงออกพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ.1430 มีใจความว่า :
"รัชกาลใหม่แห่ง ซวนเด๋อได้เริ่มขึ้นแล้ว และทุกอย่างจะต้องเริ่มกันใหม่ แต่ประเทศต่างแดนไกลโพ้นดูเหมือนจะยังไม่ทราบข่าวนี้ ดังนั้นเราจึงจะส่งขันทีเจิ้งเหอและขันทีหวังจิ่งหงออกไปพร้อมด้วยโองการ แห่งเรา เพื่อแนะนำประเทศเหล่านี้ให้ปฏิบัติตามโอรสแห่งสวรรค์ด้วยความเคารพ และดูแลประชาชนในบังคับบัญชาของตนอย่างดี เพื่อให้มีโชคดีและสันติสุขสืบไป"[9]
7) ครั้งที่ 7 (ค.ศ.1431-1433 / พ.ศ.1974-1976) เป็นการเดินทางสำรวจทางทะเลครั้งสุดท้ายของเจิ้งเหอ ก่อนการเดินทาง เจิ้งเหอได้เขียนจารึกไว้ที่แผ่นหิน 2 แผ่นที่เมืองฝูเจี้ยน ถึงการออกสำรวจครั้งที่ผ่านๆ มา ซึ่งได้กลายมาเป็นหลักฐานสำคัญในเวลาต่อมา นอกจากจอดแวะที่จามปาและชวาแล้ว กองเรือยังจอดแวะที่ปาเล็มบัง มะละกา เซมูดารา ศรีลังกา และกาลิกัท ในการเดินทางครั้งนี้เจิ้งเหอได้รับประกาศิตจากพระจักรพรรดิห้ามกษัตริย์ อยุธยามิให้รุกรานราชอาณาจักรมะละกา
ที่เมืองกาลิกัท นี้ กองเรือชุดหนึ่งได้แยกไปทางชายฝั่งอาฟริกาตะวันออก ไปยังเมืองมาลินดิ (Malindi) ซึ่ง อยู่ในประเทศเคนยาในปัจจุบัน นอกจากนี้บางส่วนค้าขายแถบทะเลแดง ในขณะที่ลูกเรือบางส่วนแยกไปทำพิธีฮัจญ์หรือแสวงบุญที่เมืองมักกะฮฺ
จากนั้นขบวนเรือ ที่แยกไปทั้งหมดกลับมารวมตัวกันที่เมืองกาลิกัท และท่องสมุทรกลับนครนานจิง ระหว่างทางเจิ้งเหอได้เสียชีวิตลงด้วยวัย 62 และร่างถูกฝังในท้องทะเลลึก ซึ่งครอบครัวของเขาเชื่อกันมาอย่างนี้ ทั้งนี้ตามหลักศาสนาอิสลาม เมื่อมีผู้เสียชีวิตในทะเล จะต้องนำร่างผู้เสียชีวิตมาอาบน้ำศพ ห่อด้วยผ้าขาว หันศีรษะของผู้เสียชีวิตไปทางเมืองมักกะฮฺก่อนจะหย่อนร่างลงท้องทะเล
ก่อนเสียชีวิ ตเจิ้งเหอได้สั่งให้นำเส้นผมและรองเท้าของเขากลับไปฝังที่เชิงเขา Nishou นอก เมืองนานจิง ซึ่งสุสานหรือกุโบร์จำลองของเขาก่อสร้างตามแบบมุสลิม เรียกว่า เจิ้งเหอมู่ หรือ สุสานเจิ้งเหอ ได้รับการบูรณะใหม่ในปี ค.ศ. 1985 บนสุสานมีอักษรภาษาอาหรับจารึกไว้เพียง 2 คำเท่านั้นว่า "อัลลอฮุ อักบารฺ" (Allah Akbar) แปลว่า "อัลลอฮฺใหญ่ยิ่ง" (Allah is Great)
ปีค.ศ.1435 พระจักรพรรดิหมิงเซวียนจงสิ้นพระชนม์ เมื่อจักรพรรดิองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ ขุนนางฝ่ายถือลัทธิขงจื๊อตำหนิว่า การเดินเรือของเจิ้งเหอเป็นการสูญเสียทรัพยากรมหาศาล ในขณะที่จีนกำลังเผชิญกับการรุกรานจากคนป่าเถื่อนทางชายแดนตะวันตก จักรพรรดิจีนจึงให้ความสำคัญกับการป้องกันประเทศก่อน และทรงปฏิเสธอย่างแข็งขันเมื่อมีผู้เสนอให้ส่งกองเรือออกสำรวจทะเลอีก ขุนนางฝ่ายต่อต้านการเดินเรือได้ทำลายเอกสารบันทึกและแผนที่การท่องสมุทรของ เจิ้งเหอ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการรื้อฟื้นกองเรือมหาสมบัติขึ้นมาอีก ชนรุ่นหลังจึงเรียนรู้การเดินเรือของเจิ้งเหอส่วนใหญ่จากบันทึกของ มุฮัมหมัด หม่า ฮวน และจารึกบนแผ่นหินเท่านั้น
ยุคแห่งการขยาย อิทธิพลกว้างไกลที่สุดของชาติจีน กลับติดตามมาด้วยยุคที่จีนปิดตัวเองจากโลกอย่างที่สุด ผู้นำของโลกในต้นศตวรรษที่ 15 ได้หันหลังเดินออกจากประตูประวัติศาสตร์ไป ในขณะที่โปรตุเกสกำลังเริ่มต้นส่งกองเรือลงมาสำรวจชายฝั่งทะเลตะวันตกของ ทวีปอาฟริกา และไม่ถึงร้อยปีต่อมา ชาวยุโรปเดินเรือไปทั่วโลก ค้าขายต่างแดน ปฏิวัติอุตสาหกรรม และนำโลกตะวันตกไปสู่ยุคแห่งความทันสมัย ชาวยุโรปยึดอาฟริกา อเมริกา และประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเป็นเมืองขึ้น ประเทศจีนเองก็ได้รับผลร้ายกาจของการปิดประเทศในอีก 300 ปีต่อมา
เจิ้งเหอเป็นผู้ ริเริ่มสิ่งที่อาจทำให้ประเทศจีนเจริญรุ่งเรืองกว่าประเทศใดๆ แต่โชคไม่ดีที่จักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงองค์ต่อๆ มาปฏิเสธการริเริ่มอันยิ่งใหญ่ของเขา และนับตั้งแต่นั้นมา จีนไม่มีกองเรือใดที่จะยิ่งใหญ่เทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับกองเรือมหาสมบัติ ของเจิ้งเหออีกเลย และกว่าที่โลกจะได้รู้จักกองเรือที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ก็ต้องรอจนถึงเกิดกอง เรือรุกรานสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1
"ซำปอกง" เทพเจ้าแห่งการเดินเรือ
คุณูปการของ เจิ้งเหอที่มีต่อชาติจีนและชาวโลกนั้นมหาศาล ชาวจีนทั้งในประเทศจีนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กองเรือของเขาเคย จอดแวะ ได้ตั้งศาลสักการะเจิ้งเหอเป็นเทพเจ้าแห่งการเดินเรือ เรียกว่า ศาล เจ้าซำปอกง ทั้งๆ ที่เจิ้งเหอเป็นมุสลิม ศาลเจ้าในแถบตะวันออกเฉียงใต้มีที่สะมารัง จ.ชวาตะวันออก ปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซีย มะละกา ปีนัง กูชิง กัวลาตรังกานู ในประเทศมาเลเซีย ซูลู ในประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศบรูไนและในประเทศไทย
ในปี ค.ศ.2005 นักธุรกิจชาวจีนที่สะมารัง อินโดนีซีย จัดสัมมนา และแสดงนิทรรศการเรื่องเจิ้งเหอ แม้ที่นี่มีศาลเจ้า"ซำปอกง" ที่โด่งดังอยู่แล้ว ชาวจีนก็ประกาศว่าจะบูรณะใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม[10]
  ศาลเจ้าซำปอกงที่ สะมารัง เกาะชวา อินโดนีเซีย
นอกจากนี้ที่สุรา บายา เมืองหลวงของ จ.ชวาตะวันออก ชาวเมืองได้สร้างมัสยิดชื่อ "มัสยิด มุฮัมหมัด เจิ้งเหอ" เพื่อรำลึกถึงชายผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยนำอิสลามมาเผยแพร่ที่เกาะชวา มัสยิดแห่งนี้เปิดเมื่อปี ค.ศ.2003 ก่อสร้างตามแบบศิลปะจีนเช่นเดียวกับมัสยิดหนิวเจี่ย ในกรุงปักกิ่ง ส่วนพิพิธภัณฑ์เจิ้งเหอที่มะละกา เปิดกลางปี ค.ศ.2005 ตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือโบราณของมะละกา
เชื้อสายของ เจิ้งเหอ
แม้ว่าเจิ้งเหอจะ ไม่มีลูก เพราะถูกตอนเป็นขันทีตั้งแต่เด็ก หากแต่หม่าเหวินหมิงพี่ชายได้ยกลูกชายหญิงให้กับเจิ้งเหอ ดังนั้นชาวจีนมุสลิมสกุล "เจิ้ง" ประมาณ 350 คนที่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ในยูนนาน เจียงสู รวมทั้งอีกหนึ่งสายที่อพยพมาอยู่ที่ จ.เชียงใหม่ ทางเหนือของประเทศไทยสามารถภูมิใจได้ว่า ตนสืบเชื้อสายมาจาก "เจิ้งเหอ" แม่ทัพเรือผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์หมิง[11] สายเลือดของเจิ้งเหอในประเทศจีนขณะนี้มี 24 รุ่นแล้ว
หลังจากกลับจาก การท่องสมุทรครั้งที่ 3 เจิ้งเหอได้เดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดที่เมืองคุนหยาง สร้างหลุมศพใหม่ให้บิดา รับบุตรชาย-หญิงของพี่ชายเป็นบุตรบุญธรรม เจิ้งเหอได้จารึกสาแหรกของตระกูลตัวเองไว้บนหลุมศพของบิดา การแล่นเรือท่องมหาสมุทร รวมทั้งยังจารึกการก่อสร้างมัสยิด จิ่งจือ (Jingjue) ที่ เมืองนานจิงของเขาไว้ด้วย[12]
หม่า กวง รือ (Ma Kuang Ru) หนุ่มจีนมุสลิม หัวหน้าสมาคมวิจัยเกี่ยวกับเจิ้งเหอในนานจิง กล่าวว่า เจิ้งเหอเป็นผู้ร้องขอต่อจักรพรรดิหมิงไท่จูเพื่อสร้างมัสยิด jingjue โดยจักรพรรดิพระราชทานที่ดินให้ แต่หลังจากผ่านสงครามหลายครั้ง รวมทั้งช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม (Cultural Revolution) มัสยิดแห่งนี้เหลือเนื้อที่เพียง 1 ใน 8 ของเนื้อที่เดิมเท่านั้น[13]
 ส่วนรายชื่อผู้ สืบตระกูลของเจิ้งเหอ ลูกหลานของเขาได้บันทึกเป็นลายมือเขียนสืบต่อกันมา ในปี ค.ศ.1937  หลี่ ซีฮู (Li Shihou) (ค.ศ.1909-1985) นักประวัติศาสตร์จีนได้ถ่ายสำเนาการสืบวงศ์ตระกูลเจิ้งเหอจากเอกสารฉบับลาย มือเขียนไว้เป็นหลักฐาน[14]
ทายาทเจิ้งเหอสาย ที่อพยพมาอาศัยอยู่ในจ.เชียงใหม่ ประเทศไทย ใช้นามสกุล วงศ์ลือเกียรติ อันเป็นนามสกุลที่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าเชียงใหม่องค์สุดท้าย ได้ประทานให้ เจิ้งชงหลิ่ง ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ ขุนชวงเลียงฦๅเกียรติ จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เจิ้งชงหลิ่ง เป็นผู้บริจาคที่ดินสร้างสนามบินเชียงใหม่ เขาอพยพเข้าเมืองไทยในปี ค.ศ.1905 (พ.ศ.2448) คนในตระกูลวงศ์ลือเกียรตินับถือศาสนาอิสลาม[15]
เจิ้งเหอและ ประเทศไทย
ในประเทศไทย เจิ้งเหอเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เจ้าพ่อซำปอกง (ซานเป่ากง) วัดซำปอกง หรือชื่อทางการ วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สาเหตุที่ชาวจีนมาเซ่นไหว้วิญญาณซำปอกงที่วัดกัลยาณมิตรเป็นเพราะความเข้าใจ ผิด กล่าวคือ ชาวจีนผู้นับถือพุทธศาสนากลุ่มหนึ่งได้นมัสการหลวงพ่อโตที่วัดกัลยาณมิตร แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้เขียนหนังสือจีนไว้ที่หน้าวิหารว่า ซำปอฮุด กง ซึ่งแปลว่าพระเจ้า 3 พระองค์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ชาวจีนกลุ่มที่นับถือซำปอกง อ่านเห็นเป็น ซำปอกง  จึง คิดว่าเป็นสถานที่เซ่นไหว้วิญญาณของซำปอกง และได้มาเซ่นไหว้ซำปอกงเรื่อยมา[16]  ด้วย เหตุนี้มีนักเขียนไทยบางคนคิดว่า เจิ้งเหอได้เปลี่ยนศาสนามาถือพุทธ
เจิ้งเหอและโลก อิสลาม
หม่าฮวนไม่ได้ บันทึกถึงการประกอบพิธีฮัจญ์ในมักกะฮฺของเจิ้งเหอ และไม่มีหลักฐานอื่นใดจารึกเรื่องการทำฮัจญ์ของเขา ในขณะที่ทั้งรายการสารคดีโทรทัศน์ CCTV ของรัฐบาลจีน[17] และรายงานของกองทัพจีน[18] ระบุว่า เจิ้งเหอบรรลุความฝันอันยิ่งใหญ่ของตน คือได้ไปแสวงบุญที่เมืองมักกะฮฺในการท่องสมุทรครั้งที่ 4 นอกจากนี้เขาได้ไปเยี่ยมหลุมฝังศพของศาสนทูตมุฮัมหมัดที่เมืองมาดีนา ส่วนลูกหลานของเจิ้งเหอในประเทศไทยสันนิษฐานว่า เจิ้งเหอได้ทำฮัจญ์ในการเดินเรือครั้งที่ 4 หรือครั้งที่ 5[19] ในขณะที่ Levathes ผู้ เขียนหนังสือเรื่อง เมื่อครั้งจีนครอบครองท้องทะเลโลก (When China Rules the Seas) สันนิษฐานว่า หากเจิ้งเหอได้ไปทำฮัจญ์จริง ก็น่าจะไปในการเดินเรือครั้งสุดท้าย[20]
ส่วนศาสตราจารย์ จู ฮุย รง (Zhu Hui Rong) หัวหน้าสมาคมวิจัยเกี่ยวกับเจิ้งเหอในยู นนานกล่าวว่า "จากการศึกษาวิจัยอย่างลึกของเรา สามารถยืนยันได้ว่า เจิ้งเหอมาจากครอบครัวมุสลิมที่เคร่งครัด ครอบครัวของท่านเป็นฮัจญีถึง 4 รุ่น แม้แต่เจิ้งเหอเองก็เป็นฮัจญี ท่านได้ไปทำฮัจญ์ในการเดินเรือครั้งใดครั้งหนึ่งของท่าน"[21]
ที่เจิ้งเหอปาร์ค หรือ สวนสาธารณะเจิ้งเหอที่เมืองจิ้นหนิง ยูนนาน บ้านเกิดของเจิ้งเหอ ที่ซึ่งสุสานของบิดาเจิ้งเหอ "ฮัจญีหม่า" ตั้งอยู่ ในพิพิธภัณฑ์มีคัมภีร์อัล-กุรอ่านวางอยู่ในตู้กระจก กลางห้องโถงมีป้ายตัวอักษรอาหรับเขียนสไตล์จีนแขวนเด่นชัดอ่านว่า "ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮ มุฮัมมาดัล รอซูลุลลอฮฺ" แปลว่า "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุฮัมหมัดคือศาสนทูตของพระองค์" (There is no god but Allah and Muhammad is his messenger)[22]
นอกจากเจิ้งเห อแล้ว ขันทีหวังจิ่งหง รองแม่ทัพของเจิ้งเหอก็เป็นมุสลิม พวกเขารวมทั้งลูกเรือมีส่วนอย่างมากในการเผยแพร่อิสลามให้แก่ชาวพื้นเมือง ที่อินโดนีเซียในช่วงราชวงศ์หมิง ขันทีหวังจิ่งหงเสียชีวิตจากเรืออัปปางนอกชายฝั่งทะเลเกาะชวา ขณะนำสาส์นของพระจักรพรรดิหมิงเซวียนจงมาทูลกษัตริย์สุมาตรา เรื่องพระอนุชาของกษัตริย์ฯ สิ้นพระชนม์แล้วขณะพำนักที่ราชสำนักหมิงหลังถวายบรรณาการแด่พระจักรพรรดิ เนื่องจากทนภาวะอากาศหนาวไม่ได้
ในบริเวณศาลเจ้า ของชาวจีนที่สะมารัง เกาะชวา มีหลุมศพแบบอิสลามของหวังจิ่งหงและของกัปตันเรือของเจิ้งเหออีกหลายคนเช่น Kiai Juru Mudi, Dampu Awang, Duogong นอกจากนี้เชื่อกันว่าในปี ค.ศ.1413 ขณะที่เจิ้งเหอต้องพำนักที่สะมารัง 1 เดือนเพื่อซ่อมแซมเรือ เขาและลูกเรือไปที่มัสยิดจีนที่สะมารังบ่อยมาก[23]
การที่จักรพร รดิหมิงเฉิงจู่ให้เจิ้งเหอเป็นแม่ทัพของกองเรือมหาสมบัติ สาเหตุนอกจากความสามารถส่วนตัวของเจิ้งเหอแล้ว น่าจะมาจากการที่เจิ้งเหอเป็นมุสลิม การติดต่อสัมพันธ์กับประเทศด้านตะวันตกของจีนซึ่งส่วนใหญ่นับถืออิสลามจึง เป็นไปด้วยความราบรื่น รวมทั้งขณะนั้นอาณาจักรอิสลามในแถบตะวันออกกลางและเอเชียกลางกำลังรุ่งเรือง ทั้งด้านวิทยาการและกำลังทหาร ทั้งนี้ในปี ค.ศ.1453 หลังจากเจิ้งเหอเสียชีวิตได้ 20 ปี กองทัพเตอร์กมุสลิมยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ เป็นการสิ้นสุดของอาณาจักรไบเซนไทน์ หรือโรมันตะวันออก
นอกจากนี้ แม้ชาวโลกส่วนใหญ่รวมทั้งชาวจีนเองเพิ่งรู้จักเจิ้งเหอเพียง 4-5 ปีก่อนหน้านี้ แต่นักวิชาการโลกอาหรับกลับรู้จักเจิ้งเหอมาตลอด ในประวัติศาสตร์ของอาหรับได้กล่าวถึง นักสำรวจมุสลิมชาวจีนเชื้อสายเอเชียกลางที่ชื่อ "เช็งโห" ผู้เคยนำกองเรือจากจีนมาติดต่อค้าขายกับโลกอาหรับต้นศตวรรษที่ 15
เจิ้งเหอและซินแบ ด
นักประวัติศาสตร์ บางราย รวมทั้งคอลัมนิสต์หลายราย ได้ตั้งคำถามและข้อสังเกตว่า ตัวละครบันลือโลก "ซินแบด" (Sinbad the sailor) ใน นิทานอาหรับราตรี พันหนึ่งทิวา (The Book of One Thousand and One Nights หรือ Arabian Nights) นั้น ผู้เล่าเรื่องอาจได้รับอิทธิพลมาจากเรื่องเล่าของชาวทะเลที่ติดต่อค้าขาย หรือทำงานให้กับกองเรือของเจิ้งเหอ เพราะเรื่องราวของคนทั้งสองมีความคล้ายคลึงกัน 2 เรื่องคือ[24]
1) ชื่อของซินแบดและชื่อของเจิ้งเหอออกเสียงคล้ายคลึงกัน ซึ่งชื่อหนึ่งของเจิ้งเหอคือ "ซานเป่า" (Sanbao) คล้ายคลึงชื่อซินแบ ดที่ออกเสียงตามภาษาเปอร์เซียว่า "ซินดิบาด" (As-Sindibad)
2) จำนวนครั้งของการออกท่องทะเลของคนทั้งสองเท่ากัน ซินแบดเดินทางท่องทะเล 7 ครั้งเช่นเดียวกับเจิ้งเหอ

เอกสารอ้างอิง:http://www.chinesemuslimthailand.com/zheng_he/content.php?page=content&category=&subcategory=50&id=145