หลายท่านอาจจะเคยสงสัยว่า ฤดูกาลต่างๆ บนโลกของเราเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมเมื่อมีฤดูร้อนแล้ว ถัดไปจึงเป็นฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว และฤดูใบไม้ผลิตามลำดับ
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาเรื่องดัง กล่าวและได้ข้อสรุปว่า มีปัจจัยสองประการร่วมกันที่ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ บนโลกของเรา
ปัจจัยแรกได้แก่ แกนหมุนของโลกมีการเอียงไปจากระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ โดยเอียงไปเป็นมุม 23.5 องศา
แกนหมุนของโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศาเมื่อเทียบกับระนาบวงโคจร
ที่มา http://www.takahashiamerica.com/
ที่มา http://www.takahashiamerica.com/
ปัจจัยที่สองได้แก่ การที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เมื่อโลกโคจรและหันซีกโลกเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ บริเวณซีกโลกเหนือก็จะเกิดฤดูร้อนขึ้น โดยที่ดวงอาทิตย์จะปรากฏบนท้องฟ้ายาวนานกว่าช่วงเวลากลางคืน ในขณะเวลาเดียวกันซีกโลกใต้ก็จะเกิดฤดูหนาวเนื่องจากอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์
เมื่อโลกโคจรจากตำแหน่ง ข้างต้นไปอีกครึ่งวงโคจร จะเกิดผลลัพธ์ตรงกันข้าม โดยซีกโลกเหนือจะเกิดฤดูหนาว ในขณะที่ซีกโลกใต้จะเกิดฤดูร้อน โดยเป็นผลอันเนื่องมาจากโลกได้หันซีกโลกใต้เข้าหาดวงอาทิตย์
สำหรับในช่วงระหว่างกลาง ทั้งสองตำแหน่งดังกล่าวในวงโคจร ซีกโลกทั้งสองได้รับปริมาณแสงแดดเท่าๆ กัน โดยจะทำให้เกิดฤดูใบไม้ร่วงและใบไม้ผลิตามลำดับ
เอกสารอ้างอิง
[1] Garlick, M.A., Astronomy, MacMillan, 2004.
ที่มา : http://www.space.mict.go.th/knowledge.php?id=season
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น