วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

moonbow


(รุ้งพระจันทร์ ถ่ายที่น้ำตกวิกตอเรีย อาฟริกา (ถ่ายตอนกลางคืน ใต้แสงจันทร์)


 รุ้ ง แ ส ง จั น ท ร์ ( m o o n b o w )

. . . . รุ้ ง แ ส ง จั น ท ร์    แ ส น ง า ม     เ มื่ อ บั ง เ กิ ด

จั ก กำ เ นิ ด          ด้ ว ย กั บ           พ ร ะ จั น ท ร์ ฉ า ย

สะ ท้ อ น ยั ง        น้ำ ค้ า ง            ท อ ป ร ะ ก า ย

ส ลั บ ส า ย         ล ะ อ อ             ณ . เ บื้ อ ง บ น

  . . . . อั ศ จ ร ร ย์       ก ล า ง วั น       อั ล ล อ ฮ์ ส ร้ า ง

รุ้ ง ส ล้ า ง              บ ร ร เ จิ ด          ห ลั ง เ กิ ด ฝ น

ย า ม ร า ต รี           มื ด มิ ด              ห ม่ น ก ม ล

ยั ง ไ ด้ ย ล         รุ้ ง ง า ม            เ ห นื อ น่ า น ฟ้ า . . . . .



มูนโบว์ หรือ รุ้งจันทรา คือ รุ้งกินน้ำที่เกิดจากแสงจันทร์ ไม่ใช่แสงอาทิตย์ รุ้งจันทราจะค่อนข้างซีดจาง เนื่องจากแสงจันทร์มีความสว่างน้อยกว่าแสงอาทิตย์มาก
เป็นเหตุให้รุ้ง จันทราดูไม่ค่อยมีสีสันด้วยตาเปล่า (cone receptors ภายในตาคนเราจะมีประสิทธิภาพในการเห็นแสงสีน้อยลง ในที่ที่มีแสงน้อย) การถ่ายภาพโดย
เปิดหน้ากล้องเป็นเวลานานจะทำให้เห็นสีของรุ้งชัดเจนขึ้น บางครั้งคนจะสับสนและเรียก "พระจันทร์ทรงกลด" ว่าเป็น "รุ้งจันทรา" ทั้งๆ ที่ "พระจันทร์ทรงกลด"
จัดเป็นปรากฏการณ์ประเภท "ฮาโล" ไม่ใช่ "รุ้งกินน้ำ" .....รุ้งจันทราจะเห็นได้ง่ายเมื่อพระจันทร์เต็มดวงอยู่ใกล้ขอบฟ้า ต่ำกว่า 42 องศา และท้องฟ้ามืด
รุ้งจันทราจะเกิดด้านตรงข้ามกับดวงจันทร์ มีจุดศูนย์กลางจะอยู่ที่ anti-lunar point

 แผนภาพตำแหน่งการเกิดปรากฏการณ์บนท้องฟ้า
จำลอง จากแผนภาพในหนังสือ Kaleidoscope Sky ของ Tim Herd


 



 ข้อมูลและภาพประกอบจาก: http://xchange.teenee.com/index.php?showtopic=80660


1 ความคิดเห็น: