วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ถือศิลอดอาชูรออ์


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

ส่งเสริมให้ถือศีลอดวันที่เก้า (ตาสูอาอ์) พร้อมกับวันที่สิบ (อาชูรออ์)

คำถาม:
ฉันประสงค์ที่จะถือศีลอดวันอาชูอรออ์ในปีนี้ และก็มีบางคนได้บอกแก่ฉันว่าที่เป็นสุนนะฮฺคือการที่ฉันถือศีลอดก่อนหน้านั้นหนึ่งวันพร้อม ๆ กับการถือศีลอดวันอาชูรออ์ ดังกล่าวนี้มีอ้างอิงจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ให้ปฏิบัติเช่นนั้นหรือไม่ ?




คำตอบ:
อัลหัมดุลิลลาฮฺ, ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมาเล่าว่า:


حِينَ صَامَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَوْمَ عَاشُورَاءَ وَأَمَرَ بِصِيَامِهِ قَالُوا يَا رَسُولَ اللهِ إِنَّهُ يَوْمٌ تُعَظِّمُهُ الْيَهُودُ وَالنَّصَارَى فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «فَإِذَا كَانَ الْعَامُ الْمُقْبِلُ إِنْ شَاءَ اللهُ صُمْنَا الْيَوْمَ التَّاسِعَ» قَالَ فَلَمْ يَأْتِ الْعَامُ الْمُقْبِلُ حَتَّى تُوُفِّيَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ


ความว่า: เมื่อครั้งเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ถือศีลอดในวันอาชูรออ์และท่านได้สั่งใช้ให้ผู้คนได้ถือศีลอดนั้น ปรากฏว่ามีเศาะหาบะฮฺได้กล่าวแก่ท่านว่า "โอ้เราะสูลุลลอฮฺ แท้จริงมันคือวันที่ชาวยิวและชาวคริสต์เทิดทูนมัน" ดังนั้นท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า: "เมื่อถึงปีหน้า อินชาอัลลอฮฺ พวกเราจะถือศีลอดวันที่เก้าด้วย" ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า: "และไม่ทันที่ปีหน้าจะมาถึง ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ก็เสียชีวิต" [บันทึกโดยมุสลิม, เลขที่: 1916]


ท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์และบรรดาสหายของท่าน อิมามอะหฺมัด อิสหาก และอุละมาอ์ท่านอื่น ๆ กล่าวว่า: "ส่งเสริมให้ถือศีลอดวันที่เก้าและวันที่สิบด้วยกัน เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ถือศีลอดวันที่สิบ และได้ตั้งใจที่จะถือศีลอดวันที่เก้า"
และด้วยประการนี้ ระดับการถือศีลอดวันอาชูรออ์ที่ต่ำที่สุดคือการถือศีลอดวันที่สิบเพียงวันเดียว และที่ดีกว่านั้นคือการถือศีลอดวันที่เก้าด้วย และหากถือศีลอดให้มากในเดือนมุหัรฺร็อมก็ถือว่าประเสริฐกว่าและดีกว่า
และหากท่านจะถามว่า: อะไรคือวิทยปัญญาที่ให้ถือศีลอดวันที่เก้าพร้อม ๆ กับการถือศีลอดวันที่สิบด้วย ?
คำตอบคือ ท่านอิมามอัน-นะวะวีย์ เราะฮิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า: บรรดาอุลุมาอ์ในมัซฮับของเราและอุละมาอ์ท่านอื่น ๆ ได้ระบุถึงวิทยปัญญาหลายประการที่ส่งเสริมให้ถือศีลอดวันที่เก้าด้วยดังนี้
1. เพื่อเป็นการขัดแย้งกับการปฏิบัติของชาวยิวที่ถือศีลอดเฉพาะวันที่สิบ และนี่คือรายงานจากท่านอิบนุอับบาส
2. เพื่อเป็นการต่อการถือศีลอดวันอาชูรออ์ด้วยกับการถือศีลอดอีกวันหนึ่ง ดังที่ได้ห้ามการศีลอดเฉพาะวันศุกร์วันเดียว
3. เพื่อเป็นการเผื่อในการถือศีลอดวันที่สิบ กล่าวคือเกรงว่าเดือนจะขาด และอาจเกิดความผิดพลาด ดังนั้นวันที่เก้าอาจจะเป็นวันที่สิบ
และทรรศนะที่มีน้ำหนักมากที่สุดคือ เพื่อเป็นการขัดแย้งกับชาวคัมภีร์ ท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมิยะฮฺ เราะฮิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า: "ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามการเลียนแบบชาวคัมภีร์ซึ่งมีรายงานในบรรดาหะดีษมากมาย ดังเช่นคำกล่าวของท่าน...เกี่ยวกับวันอาชูรออ์ว่า: "หากฉันยังมีชีวิตถึงปีหน้า แน่นอนยิ่งฉันจะถือศีลอดในวันที่เก้าด้วย" [อัล-ฟะตาวา อัล-กุบรอ, เล่มที่: 6]
ท่านอิบนุหะญัรฺ เราะฮิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ในการอรรถาธิบายหะดีษ  "หากฉันยังมีชีวิตถึงปีหน้า แน่นอนยิ่งฉันจะถือศีลอดในวันที่เก้า" ว่า: "การที่ท่านปราถนาจะถือศีลอดในวันที่เก้า ความหมายของมัน อาจหมายถึงว่าการไม่ได้เจาะจงถือศีลอดเฉพาะวันที่เก้า แต่หมายถึงการถือศีลอดวันที่สิบด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเผื่อ หรือไม่ก็เพื่อเป็นการขัดแย้งกับชาวยิวและคริสต์ และนี่คือทรรศนะที่มีน้ำหนักมากกว่า และคือข้อบ่งชี้ในบางรายงานของอิมามมุสลิม" [ฟัตหุลบารีย์, 4/245]

คำตอบโดย เว็บ อิสลามถามตอบ
http://www.islam-qa.com/ar/ref/21785
ขอขอบคุณ www.islamhouse.com

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

มุสลิมกับวันคริสต์มาส

คัดลอกจากหนังสือ ทำไมมุสลิมจึงทำไม่ได้

ของ อ.มุรีด ทิมะเสน


วันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของศาสนาคริสต์ เป็นวันเฉลิมฉลองเพื่อระลึกถึงวันประสูติของพระเยซู คริสตศาสนิกชนทุกนิกายจัดพิธีนี้มาจนเป็นประเพณีนิสัยสืบมาจนทุกวันนี้

ความเป็นมาของวันคริสต์มาส

ก. วันคริสต์มาสหรือวันคริสตสมภพ คือวันที่พระเยซูลงมาบังเกิดลงมาในโลกมนุษย์เมื่อประมาณ 4 ปี ก่อนคริสตศักราชเพื่อมา ไถ่บาปของมนุษย์ทุกคนที่กระทำบาป บิดาคือโจเซฟ มารดาคือมาเรีย สถานที่ประสูตรคือเมืองเบธเลเฮม ประเทศอิสราเอล คริสเตีอนถือว่าวันนี้เป็น วันที่สำคัญมากโดยถือ ว่าวันที่ 24 ธันวาคมเป็นวันคริสต์มาสอีส ซึ่งมาจาก Chrismas Evening และ 25 ธันวาคมคือวันคริสต์มาส.......อ่านต่อคลิกลิงค์ข้างล่างนี้








ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลนี้  www.mureed.com

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ดูอา

ขอความสันติความเมตตา,ปราณี จากอัลลอฮฺจงประสบแด่พี่น้องทุกท่าน

สวัสดีน้องๆนักศึกษาที่รักทุกๆคน

          
                  แว้ปเดียวก็จะครบปีแล้ว  จะเห็นว่า ปีหนึ่งๆนั้นช่างรวดเร็วเหลือเกิน บางคนก็ยังไม่ทันทำอะไรหรือได้ทำแต่ผลยังไม่ได้ตามเป้าที่ได้ตั้งไว้ หรือมากกว่านั้น บางท่านเพียงแต่ได้คิด แต่ไม่ลงมือทำ...เพราะไม่รู้ว่าจะลงมือทำเมื่อไร.  เอาเถิดครับ  ผมจะไม่ร้องขอน้องๆนักศึกษาที่รักทั้งหลายให้เปลี่ยนแปลงโลกเช็กเช่นยอดมนุษย์ เขาทำกัน หรือร้องขอให้น้องๆเปลี่ยนแปลงตนเองจากหน้ามือเป็นหลังมือ หากแต่จะเชิญชวนน้องๆ มาทำสิ่งง่ายๆที่ใครก็สามารถทำได้ นั้นคือ การท่องดูอา สมมุติเราท่องดูอาอาทิตย์ละ 1 บท ปีหนี่งเราจะจำดูอามากถึ่ง 48 บท...! 

                 จะเป็นการดีมากถ้าได้จด ดูอา ที่เราสนใจไว้อ่านตอนไหนก็ได้ที่เราอยากจะอ่านและหัดเขียนเพื่อให้จำง่ายขึ้นและจำได้นานๆ...  ถ้าพร้อมแล้วก็คลิกตามลิงค์ต่อไปนี้ครับ


                   หวังว่าน้องๆจะได้รับขอแนะนำเล็กๆนี้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อเราเองทั้งในโลกนี้และโลกหน้า อินซาอัลลอฮฺ



                  
                   ท้ายนี้ ขอขอบคุณเว็บไซต์ http://www.mureed.com/ ที่เอื้อสื่อความรู้ข้างต้นนี้ ขออัลลอฮฺ ทรงตอบแทนท่านและทีมงานด้วย  อามีน...

วัสสาลาม

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อิสลาม กับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ

หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม สำหรับทั้งคนที่ไม่ใช่มุสลิม หรือคนที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และมุสลิมที่ต้องการแนวคำตอบไว้สำหรับตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับอิสลามในเรื่องพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้อ่านเป็นคนต่างศาสนิกก็จะทำให้คุณรู้จักศาสนาอิสลามมากขึ้นในระดับหนึ่ง




หนังสือของชาวต้นไม้นี้ เดิมเป็นรูปแบบการตอบคำถามแบบสั้นๆกะทัดรัด ส่วนฉบับนี้ได้มีการปรับปรุงให้มีเนื้อหาสาระมากขึ้นสำหรับผู้ที่มีเวลาอ่านและสนใจจะหาคำตอบที่เคลือบแคลงใจ โดยทั้งสองฉบับได้มีการพิมพ์เป็นครั้งที่สองแล้ว เนื่องจากว่ามีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ข้างล่าง

http://mureed.com/article/Islam_book/islam_basic.htm

ขอขอบคุณผู้ดูแลเว็บไซต์  http://www.mureed.com/

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สัญญาณวันสิ้นโลก

สัญญาณวันสิ้นโลก หรือ สัญญาณวันกิยามะห์ มีอะไรบ้างมาดูกันครับ ซึ่งหลายๆอย่างได้เกิดขึ้นแล้วหรือกำลังเกิดขึ้นอยู่ครับ




ท่าน เชคอาลี อาลี มูฮำหมัด ได้กล่าวถึงสัญญาณวันกิยามะห์ไว้ในหนังสือของท่าน ที่ชื่อว่า "อัชร็อต อัซซาอะห์" ดังต่อไปนี้



สัญญาณย่อย ได้แก่



1. แผ่นดินไหวจะมีมาก



2. ลมพายุจะรุนแรง



3. ความตายจะดาษดื่น (จากโรคร้าย)



4. มนุษย์จะแข่งขันประดับประดามัสยิด



5. คนโกหกจะได้รับความเชื่อถือ คนพูดจริงกลับถูกมองว่าโกหก



6. คนทุจริตจะปลอดภัย คนไว้วางใจได้กลับถูกบิดพริ้ว



7. การผิดประเวณี (ซินา) จะดาษดื่น



8. สุรา ดอกเบี้ย เป็นสิ่งอนุมัติ



9. ในมัสยิดมีเสียงอึกทึก



10. คนรุ่นหลังจะประณามคนรุ่นก่อน



11. ความวุ่นวายจะเกิดขึ้นทุกหัวระแหง



12. ผู้ใหญ่จะรับใช้เด็ก



13. อุตริกรรม (บิดอะห์) จะปรากฎชัด



14. ความอายจะน้อยลง



15. สตรีจะประพฤติตัวเหมือนบุรุษ ส่วนบุรุษจะประพฤติตัวเหมือนสตรี



16. สตรีจะนุ่งน้อยห่มน้อย



17. ผู้ทุจริตได้รับการช่วยเหลือ ผู้ถูกละเมิดกลับถูกทอดทิ้ง



18. ผู้คนจะอ่านอัลกุรอานกันเพียงลิ้น (ขาดการกฏิบัติตาม)



19. การนินทาให้ร้ายจะมีมาก



20. การสาบานด้วยสิ่งอื่นจากอัลเลาะห์จะมีมาก



21. การหย่าร้างเกิดขึ้นมาก



22. ความชั่วช้าเลวทราบจะปรากฎชัด



23. มนุษย์จะปฏิบัติตามอารมณ์กิเลสและตัณหา



24. บุรุษจะถูกทำลาย เพราะทรัพย์สินเป็นเหตุ



25. มนุษย์จะตัดขาดญาติมิตร



26. สมาธิของคนละหมาดจะหายไป



27. ประชาชาติจะแตกออกเป็น 70 กว่าจำพวก



28. วันและเวลาจะสั้นลง จนกระทั่งหนึ่งปีเสมือนหนึ่งเดือน และหนึ่งเดือนเสมือนหนึ่งสัปดาห์ และหนึ่งสัปดาห์เหมือนหนึ่งวัน



29. การแต่งงานเกิดขึ้น เพราะสมบัติเป็นเหตุ



30. เรื่องราวของมนุษย์ ล้วนเป็นความโลภโมโทสัน



31. การตลาดจะฝืดเคือง



32. การให้เกียรติจะน้อยลง แต่การเหยียดหยามจะมากขึ้น



33. ความรับผิดชอบจะหายไป ความวุ่นวายสับสนจะแทนที่



34. ศาสนาจะถูกซื้อขายด้วยวัตถุทางโลก (ดุนยา)



35. หัวใจมนุษย์หมดสิ้นจากความดี



36. ทานบังคับ (ซะกาต) ถูกนำมาจำหน่ายค่าแรงและถูกมอบให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิรับ



37. บุรุษจะฆ่ากันโดยไร้เหตุผล



38. ความรู้จะถูกเก็บ คนโง่จะขึ้นแสดงธรรม (บนมิมบัร)



39. เด็กที่เกิดจากการผิดประเวณีจะมีมาก



40. คนที่มีลูกหลานต้องโศกเศร้า เพราะการเนรคุณ



41. สตรีจะทำหน้าที่แทนบุรุษ



42. เด็กจะไม่ให้เกียรติผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จะไม่เมตตาเด็ก



43. ความบริสุทธิ์จะหายไปจากการงาน



44. คนชั่วจะภูมิใจ และโอ้อวดความชั่วของตน



45. การพนันจะมีมาก



46. ผู้บริสุทธิ์จะถูกฆ่าเป็นการล้างแค้น (ไม่ใช่การรับใช้ชาติ)



47. มนุษย์จะถูกเรียกร้องสู่ขุมนรก และหันเหออกจากการภักดีต่ออัลเลาะห์ตาอาลา





ส่วนสัญญาณใหญ่ ได้แก่



1. อิหม่ามมะห์ดีปรากฎตัว



2. ดัจญ้าลเผยโฉม



3. ท่านศาสดาอีซาจะถูกส่งลงมาสู่โลกอีกครั้งหนึ่ง



4. ยะญูดและมะญูด พังกำแพงทะลุออกมาได้



5. มีสัตว์ประหลาดออกมาจากแผ่นดิน



6. ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก



7. มีหมอกควันเกิดขึ้นเต็มแผ่นดิน



8. เกิดไฟประลัยกัลป์ออกมาขับไล่ผู้คนไปรวม ณ ชุมนุมสถาน



9. อัลกุรอาน และความรู้ถูกเก็บ (โดยการล้มตายของบรรดาผู้รู้)



หวังว่าพี่น้องทุกคนจะระลึกถึงอัลลอฮให้มากๆน่ะครับ วัสลาม
 
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://www.muslimcool.com/forum/index.php?topic=9.0

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

มุสลิมผู้วางรากฐานคณิตศาสตร์:Muslim Founders of Mathematic

มุสลิมผู้วางรากฐานคณิตศาสตร์:Muslim Founders of Mathematics

แปลโดย ลานา อัมรีล
ช่วงศตวรรษที่ 7-13 เป็นยุคทองของศิลปวิทยาการมุสลิม โดยเฉพาะในด้านคณิตศาสตร์ที่มุสลิม มีบทบาทอย่างสูง พวกขาคิดค้นระบบจุดทศนิยมและสูตรพื้นฐานของคณิตศาสตร์ทั้งการบวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง และถอดราก นอกจากนี้ชาวมุสลิมยังเป็นผู้คิดค้นเลขศูนย์ (0) ขึ้นมา
ยอดนักคณิตศาสตร์มุสลิม ได้แก่:
อัล-ควาริศมี (ค.ศ.780-850)
เป็น บิดาแห่งพีชคณิตเขาเป็นทั้งนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชื่อก้อง คอลีฟะฮ์อัล-มะอ์มูน (Al-Ma’Mun ค.ศ.786-833) เป็นผู้เรียกตัวเขาเข้าแบกแดด แล้วแต่งตั้งให้เป็นนักดาราศาสตร์แห่งราชสำนัก
คำว่า อัลจีบรา” (Algebra พีชคณิต) มาจากชื่อตำราคณิตศาสตร์เล่มโด่งดังของอัล-ควาริศมี ฮิซาบ อัล-จับบัร วาอัล-มุฆบาลา (Hisab Al-Jabr Mugabalah หรือ Book of Calculations, Restoration, and Reduction) ตำราคณิตศาสตร์ฉบับแปลภาษาละตินของเขาเล่มนี้ถูกค้นพบในปีค.ศ.1857 ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ชื่อว่า ‘Algoritimi de Numero Indorum’ หน้าแรกของหนังสือเขียนว่า อัลกอริธมีกล่าวว่า มวลการสรรเสริญเป็นของพระผู้เป็นเจ้า ผู้นำและพิทักษ์เรา” (Spoken has Algoritimi. Let us give deserved praise to God, our Leader, and Defender) ซึ่งคาดว่าในฉบับภาษาอาหรับอัล-ควาริศมีได้เริ่มหน้าแรกของหนังสือเพียงว่า บิสมิลลาฮิรฺรอฮฺมานิรฺรอฮีมแปลว่า มวลการสรรเสริญเป็นของพระผู้เป็นเจ้า ผู้นำและพิทักษ์เราซึ่ง เป็นคำกล่าวของมุสลิมทุกคนเมื่อเริ่มต้นทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่เมื่อชาวคริสเตียนแปลหนังสือออกมา ย่อมต้องบอกว่าอัล-ควาริศมีเป็นผู้กล่าวคำสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าของชาว มุสลิม ไม่ใช่ตนเป็นคนกล่าว
อัลควาริศมีทิ้งชื่อของเขาไว้ในโลกคณิตศาสตร์คือคำว่า อัลกอริธึม’ (Algorism) ซึ่งเป็นชื่อเก่าของคำว่า ‘arithmatic’ หรือ เลขคณิต
อัล-ควาริศมีเน้นว่าเขาเขียนตำราพีชคณิตเพื่อประโยชน์ของผู้คนในด้านการคำนวณมรดก คดีความ และด้านการค้า
ในศตวรรษที่ 12 เจอราดแห่งครีโมนา (Gerard of Cremona) และโรเบิร์ตแห่งเชสเตอร์ (Roberts of Chester) แปลตำราพีชคณิตของอัล-ควาริศมีเป็นภาษาละติน นักคณิตศาสตร์ทั่วโลกใช้ตำรานี้กันจนหระทั่งศตวรรษที่ 16
เชื่อกันว่าอัล-ควาริศมีเกิดในปีค.ศ.780 ที่เมือง Kath ในโอเอซิสแห่ง Khorzen ปัจจุบันเมือง Kath ถูกฝังใต้แผ่นดินไปแล้ว
เกิด ในปี 801 ที่เมืองคูฟา ช่วงที่พ่อเขาดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง นามสกุลของเขาบ่งชี้ว่าอัล-คินดีสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์คินดาฮ์แห่งเยเมน
อัล-คินดีถูกเรียกว่า ฟัยลาซุฟ อัล-อาหรับ หรือ นักปรัชญาอาหรับ คนแรกในอิสลาม
เขาเขียนตำราคณิตศาสตร์ 11 เล่มเกี่ยวกับทฤษฎีจำนวนและการวิเคราะห์ตัวเลข
อัล-การาจี หรือ อัล-การ์คกี (ค.ศ. 953-1029)
เขาเกิดในเมืองการ์ค (Kharkh) ชานกรุงแบกแดด งานเขียนของเขามีทั้งเลขคณิต พีชคณิต และเรขาคณิต
หนังสือ Al-Kafi fi'l-hisab หรือ Sufficient on calculation อัล-การาจีเขียนเกี่ยวกับเลขคณิต ถูกแปลเป็นภาษาเยอรมันโดย Ad. Hochheim ส่วนตำราเล่มที่สอง Al-Fakhri fi'l-jabr wa'l-muqabala หรือ Glorious on algebra เป็น หนังสือด้านพีชคณิตซึ่งเขาเขียนถวายกาหลิบแห่งแบกแดด อัล-การาจีตั้งชื่อหนังสือจากชื่อเพื่อนของเขาซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดีของ แบกแดดในขณะนั้น
เขาเป็น บิดาแห่งตรีโกณมิติ เกิดที่เมืองฮาราน (Harran) ใกล้อุรฟา เมโสโปเตเมีย (ปัจจุบันอยู่ในตุรกี) และเสียชีวิตในปี 929 ที่เมืองดามัสกัส ซีเรีย เขาถือเป็นนักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกมุสลิม
เขาเป็นผู้ยกระดับศาสตร์ด้านตรีโกณมิติให้มีสถานะสูงขึ้น และเป็นคนแรกที่คำนวณตาราง cot (cotangent)
 อัล-ไบรูนี  (ค.ศ.973-1050)
อัล-ไบ รูนีเป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่วางรากฐานตรีโกณมิติสมัยใหม่ เป็นทั้งนักปรัชญา นักภูมิศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักคณิตศาสตร์
อัล-ไบรูนีบอกว่าโลกหมุนรอบแกนของตัวเองก่อนหน้ากาลิเลโอ (Galileo Galilei ค.ศ.1564–1642, นักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องชาวอิตาเลียน) จะค้นพบถึง 600 ปี
อัล-ไบรูนีคำนวณวัดพื้นผิวโลก และคำนวณเส้นรอบวงของโลกด้วยวิธีที่บ่งถึงอัจฉริยภาพ เขาคำนวณค่าเส้นรอบวงของโลกได้ 6,339.9 กม. น้อยกว่าค่าที่เราหาได้ในปัจจุบัน (6,356.7 กม.) เพียง 16.8 กม.เท่านั้น!!!
เขาสามารถคำนวณหาทิศกิบลัตได้จากทุกเมืองทั่วโลกโดยใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์เข้าช่วย
นักคณิตศาสตร์มุสลิมโดดเด่นด้านตรีโกณมิติ สูตรของฟังก์ชันต่างๆ ทั้งซายน์ (sine) โคซายน์ (cosine) และแทนเจน (Tangent) ได้รับการพัฒนาโดยนักคณิตศาสตร์มุสลิมในช่วงศตวรรษที่ 10
นอก จากนี้แล้ว นักคณิตศาสตร์มุสลิมยังศึกษาอย่างหนักในการพัฒนาตรีโกณมิติแบบพื้นผิวเรียบ และพื้นผิวโค้ง และแม้ตรีโกณมิติของชาวมุสลิมจะมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีของปโตเลมี แต่พวกเขาพัฒนาจนเหนือกว่า โดยเฉพาะสองด้านเด่นๆ คือ ชาวมุสลิมใช้ฟังก์ชัน sine แทน chord และใช้พีชคณิตแทนเรขาคณิต.

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความประเสริฐของการประกอบพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺ


ความประเสริฐของสิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ

จากอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า

«مَا العَمَلُ فِي أَيَّامٍ أَفْضَلُ مِنْـهَا فِي هَذِهِ» قَالُوا: وَلا الجِهَادُ؟ قال: «وَلا الجِهَادُ إلَّا رَجُلٌ خَرَجَ يُـخَاطِرُ بِنَفْسِهِ وَمَالِـهِ فَلَـمْ يَرْجِعْ بِشَيْءٍ».

ความว่า “ไม่มีวันใดที่ปฏิบัติการงานที่ดีที่สุดไปกว่าวันดังกล่าวนี้ (สิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ) พวกเขาพากันกล่าวว่า แม้ว่าจะเป็นการญิฮาดเช่นนั้นหรือ? ท่านนบีก็ตอบว่า แม้จะเป็นการญิฮาดก็ตามเถิด เว้นแต่ผู้ที่ได้ออกไปต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺด้วยตัวของเขาและทรัพย์สินของเขาแต่แล้วเขาก็ไม่ได้กลับมาด้วยสิ่งใดเลย” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 969)



وفي لفظ: «مَا مِنْ أَيَّامٍ العَمَلُ الصَّالِـحُ فِيْـهِنَّ أَحَبُّ إلَى الله مِنْ هَذِهِ الأيَّامِ العَشرِ..الخ».

อีกสำนวนหนึ่งได้กล่าวว่า “ไม่มีวันใดที่ปฏิบัติการงานที่ดีในวันนั้นเป็นที่โปรดปราน ณ อัลลอฮฺ มากไปกว่าสิบวันนั้น(สิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ)...” (หะดีษเศาะหีหฺ บันทึกโดยอะบูดาวูด หะดีษที่ 2438 และอัตติรฺมิซีย์ หะดีษที่ 757 สำนวนหะดีษเป็นของอัตติรฺมีซีย์)



ความประเสริฐของหัจญ์มับรูรฺ(หัจญ์ที่สมบูรณ์)

1. จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า

«مَنْ حَجَّ ٬ فَلَـمْ يَرْفُثْ، وَلَـمْ يَفْسُقْ رَجَعَ كَيَوْمِ وَلَدَتْـهُ أُمُّهُ».

ความว่า “ผู้ใดที่ประกอบพิธีหัจญ์โดยไม่พูดจาหยาบคาย(ลามก)และไม่กระทำสิ่งชั่วช้าใดๆเขาผู้นั้นจะกลับมา(ในสภาพปลอดจากบาป)เสมือนวันที่มารดาของเขาได้ให้คลอดเขาออกมา” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 1521 และมุสลิม หะดีษที่ 1350 สำนวนหะดีษเป็นของอัลบุคอรีย์)



2. จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า

سُئِلَ النَّبِيُّ  أَيُّ الأَعْمَالِ أَفْضَلُ؟ قَالَ: «إيمَانٌ بِالله وَرَسُولِـهِ» قِيلَ ثُمَّ مَاذَا؟ قَالَ: «جِهَادٌ فِي سَبِيلِ الله» قيل ثُمَّ مَاذَا؟ قَالَ: «حَجٌّ مَبْرُورٌ».

ความว่า “มีคนถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมว่า การงานใดที่ประเสริฐสุด? ท่านนบีได้ตอบว่า การศรัทธาต่ออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ และมีคนถามอีกว่า นอกจากนั้นมีสิ่งใดอีก? ท่านนบีก็ตอบว่า การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ และมีคนถามเพิ่มเติมอีกว่า นอกจากนั้นมีสิ่งใดอีก? ท่านนบีก็ตอบว่า หัจญ์มับรูรฺ(หัจญ์ที่ถูกตอบรับ)” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 1519 และมุสลิม หะดีษที่ 83 สำนวนหะดีษเป็นของอัลบุคอรีย์)



ความประเสริฐของการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮของบรรดาสตรี

จากอาอิชะฮฺ (มารดาของเหล่าผู้ศรัทธา) เราะฎิยัลลอฮุ อันฮา ได้กล่าว(แก่ท่านรอซูลลุลลอฮฺ) ว่า

يَا رَسُولَ الله نَرَى الجِهَادَ أَفْضَلَ العَمَلِ، قَالَ: «لَكُنَّ أَفْضَلُ الجِهَادِ حَجٌّ مَبْرُورٌ».

ความว่า “โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ, เราทุกคนต่างเห็นว่า การญิฮาดเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด ท่านนบีก็ได้กล่าวขึ้นมาว่า สำหรับพวกเธอทั้งหลายการญิฮาดที่ประเสริฐสุดคือหัจญ์มับรูรฺ” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 1520)



ความประเสริฐของการประกอบพิธีอุมเราะฮฺ

จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า

«العُمْرَةُ إلَى العُمْرَةِ كَفَّارَةٌ لما بَيْنَـهُـمَا، وَالحَجُّ المَبْرُورُ لَيْسَ لَـهُ جَزَاءٌ إلا الجَنَّةُ».

ความว่า “จากอุมเราะฮฺหนึ่งไปสู่อีกอุมเราะฮฺหนึ่งจะถูกลบล้างบาป(ที่มีขึ้น)ระหว่างสองอุมเราะฮฺดังกล่าว และสำหรับหัจญ์มับรูรฺไม่มีสิ่งใดสามารถตอบแทนใดนอกจากสวนสวรรค์เท่านั้น” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 1773 และมุสลิม หะดีษที่ 1349 สำนวนหะดีษเป็นของอัลบุคอรีย์)


แหล่งอ้างอิง : http://www.islamhouse.com/

GAT - PAT IN MEANING...

มารู้จัก GAT กันก่อน


สำหรับ GAT หรือ General Aptitude Test เป็นการทดสอบความถนัดทั่วไป โดย ข้อสอบ GAT จะแบ่งออกเป็นการทดสอบการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 50% และทดสอบการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ อีก 50%

ลักษณะของ ข้อสอบ GAT จะมีทั้งปรนัย และอัตนัย เน้นความซับซ้อนมากกว่าความยาก โดยข้อสอบ GAT จะจัดสอบปีละ 3 ครั้ง คือเดือนมีนาคม กรกฎาคม และตุลาคม โดยสามารถเลือกสอบครั้งไหนก็ และเมื่อสอบ GAT แล้ว สามารถเก็บคะแนน GAT ไว้ได้ 2 ปี เพื่อเลือกใช้คะแนน GAT ที่ดีที่สุดในคิดคะแนนยื่นเข้ามหาวิทยาลัย

มารู้จัก PAT กันบ้าง

สำหรับ PAT คือ Professional Aptitude Test เป็นการสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ แบ่งข้อสอบออกเป็น 7 ชุด คือ

PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์ เนื้อหา ข้อสอบ PAT เช่น เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น, ตรีโกณมิติ, แคลคูลัส ฯลฯ

PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหา ข้อสอบ PAT เช่น ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, Environment, ICT ฯลฯ

PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรมศาสตร์ เนื้อหา ข้อสอบ PAT เช่น Engineering Mathematics, Engineering Sciences, Life Sciences, IT ฯลฯ

PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ เนื้อหา ข้อสอบ PAT เช่น Architectural Math and Science ฯลฯ

PAT 5 วัดศักยภาพทาง ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เนื้อหา ข้อสอบ PAT เช่น ภาษาไทย, สังคมวิทยา, มานุษยวิทยา, สุขศึกษา, ศิลปะ, สิ่งแวดล้อม, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ ฯลฯ ลักษณะข้อสอบเน้นความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ

PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์ เนื้อหา ข้อสอบ PAT เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทาง ศิลป์ ฯลฯ โดยจะเน้นเชิงความคิดสร้างสรรค์

PAT 7 วัดความถนัดทางภาษาต่างประเทศ แบ่งเป็น 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ และ 7.6 ความถนัดทางภาษา โดย ข้อสอบ PAT ความถนัดด้านภาษาต่าง ๆ นั้น จะเน้นเนื้อหาเรื่องไวยากรณ์, คำศัพท์ ฯลฯ

ทั้งนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องสอบทุก PAT ให้เลือกสอบเฉพาะ PAT ที่จะนำไปใช้ในการเลือกเข้าเรียนในคณะที่ตนเองต้องการเท่านั้น

สำหรับลักษณะ ข้อสอบ PAT จะเป็นทั้งปรนัย และอัตนัย โดยผู้ที่เข้าสอบต้องเป็นนักเรียนชั้น ม.5 ขึ้นไป ทั้งนี้ การสอบ PAT จะจัดสอบปีละ 3 ครั้ง คือประมาณเดือนมีนาคม กรกฎาคม และตุลาคม สามารถเลือกสอบกี่ครั้งก็ได้ เช่นเดียวกับการสอบ GAT และเก็บคะแนนไว้ได้ 2 ปี เพื่อเลือกคะแนนที่ดีที่สุดเช่นกัน

คะแนน GAT-PAT ใช้ทำอะไร

เมื่อสอบ GAT-PAT แล้ว คะแนน GAT-PAT ที่ดีที่สุดที่ได้มา จะถูกนำมาคำนวณรวมกับหลักเกณฑ์ที่ทาง ทปอ. กำหนดในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย โดยระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2553 นั้น ทาง ทปอ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่จะใช้คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาเรียนต่อในมหาวิทยาลัย โดยใช้องค์ประกอบ 4 อย่าง คือ

1. GPAX หรือ ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม ทั้ง 6 ภาคเรียน คิดคะแนน 20 %

2. คะแนนจากการสอบ O-NET 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คิดคะแนน 30 %

3. GAT ความถนัดทั่วไป คิดคะแนน 10-50 %

4. PAT ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ คิดคะแนน 0-40%

รวมสัดส่วนคะแนนทั้งหมด 100% ซึ่งคณะไหน มหาวิทยาลัยไหน จะกำหนดใช้คะแนน GAT-PAT ในสัดส่วนเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับสาขา คณะ และมหาวิทยาลัยนั้น ๆ

ทั้งนี้ การสอบ GAT-PAT ครั้งต่อไป จะเป็นการสอบ GAT-PAT ประจำปี 2553 ครั้งที่ 1 เปิดรับ สมัครสอบ GAT-PAT ระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน ถึง 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และจัดสอบระหว่างวันที่ 6-9 มีนาคม พ.ศ.2553 ประกาศผลสอบวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2553 โดยผู้ที่มีสิทธิ์สอบ GAT-PAT คือนักเรียนที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับชั้น ม.5 ขึ้นไป

และที่สำคัญในปี พ.ศ.2553 จะมีการเปลี่ยนแปลงการสอบ GAT-PAT จากเดิมกำหนดให้ 1 ปี มีสอบ GAT-PAT 3 ครั้ง แต่ปี พ.ศ.2553 จะเหลือการสอบ GAT-PAT เพียง 2 ครั้งเท่านั้น คือในเดือน มีนาคม พ.ศ.2553 กับเดือนตุลาคม พ.ศ.2553

รู้จัก GAT-PAT กันแล้ว ก็เตรียมตัวกันไว้ล่วงหน้าเลยได้เลย สำหรับใครที่จะต้องสอบ GAT-PAT ในรุ่นต่อ ๆ ไป เพื่อเป็นบันไดก้าวเข้าไปเป็นเฟรชชี่น้องใหม่ในมหาวิทยาลัย และที่สำคัญต้องติดตามข่าวคราวการศึกษาอยู่เสมอ ๆ เพราะสัดส่วนคะแนนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ต่าง ๆ กัน ในแต่ละปี