วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โรงเรียนหรือบ้านเรียน





เสียงร้องไห้ของเด็กวัยอนุบาลอาจยังคงดังก้องในโสตประสาทของคุณแม่ อาจเป็นเสียงเล็กๆ แต่ก็กระชากหัวใจผู้เป็นแม่อยู่ไม่น้อยเลยล่ะคะ อดสงสารไม่ได้ที่เห็นเด็กๆ 3-5 ขวบร้องร่ำหาคนใกล้ชิด ก็เด็กๆ เค้าไม่อยากห่างพ่อแม่ผู้ที่เค้าอุ่นใจและปลอดภัยยามอยู่ด้วยนี่หน่า เทศกาลเปิดเทอมใหม่ โรงเรียน(รร.) ก็ยังเป็นสถานที่แปลกหน้า เพื่อนใหม่ คุณครูใหม่ เรียกว่าแวดล้อมด้วยของใหม่หมดเลย



บางคนอาจมองว่าระยะเวลาอยู่รร. ไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น ไม่น่าเป็นอะไร


เดี๋ยวเด็กก็หยุดร้อง เด็กลืมง่าย แต่มันก็คงทำให้หัวใจดวงน้อยรันทดไม่น้อยเลยล่ะ


พ่อแม่หรือครูคงไม่รู้ว่าในใจดวงน้อยเค้าคิดอะไร


อาจจะเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ย่ำแย่จนเติบโตเลยก็ได้ ถ้าลูกส่ออาการไม่มีความสุข


ร้องไห้บ่อยๆ หรือร้องทุกวันติดต่อกันเป็นเดือน ซึมเศร้า ไม่กิน เล่นน้อย


เงียบลงโดยเฉพาะเมื่ออยู่ในรร.ดูจะส่งผลเสียระยะยาวแก่เด็กนะคะ


ผู้ปกครองคงต้องกลับไปทบทวนใหม่แล้วล่ะ


อะไรจะคุ้มค่ากว่ากันระหว่างสิ่งที่พ่อแม่คาดหวังจากโรงเรียน หรือการสอน-


ดูแลลูกที่บ้านไปก่อนเพื่อให้หัวใจดวงน้อยพร้อมกว่านี้


เพราะไม่งั้นเค้าอาจจะอคติต่อรร.ตลอดไปก็ได้นะคะ


ผู้เขียนไม่ได้ต่อต้าน รร.หรอกค่ะ สารภาพว่าลูกสาวคนโต 6


ขวบก็เพิ่งทดลองเข้าโรงเรียนชั้นประถม 1 ระดับอนุบาลไม่ได้เข้าค่ะ มีความสุขสุดๆ


ครูเอาใจใส่ตักเตือนดีค่ะ คล้ายบ้านมากกว่า (ส่วนลูกคนรอง 3.5 ขวบ ไปบ้างนานๆ ที


แต่ไปเรียนห้องพี่ ป.1 ไม่งอแง แต่อุ่นใจที่ได้ใกล้พี่


เค้านั่งฟังครูสอนในห้องอย่างเงียบสงบ แต่ชอบอยู่บ้านกับน้องซะมาก)


แม้ส่วนตัวมีความรู้สึกชอบให้ลูกอยู่ใกล้ สอนสิ่งต่างๆ


ในชีวิตประจำวันที่เด็กต้องทำเพื่อเป็นทักษะชีวิต จะมีเวลามากบ้างน้อยบ้าง เอ้าท์ดอร์


อินดอร์บ้าง จะลูกทุ่งลูกกรุงขลุกขลักบ้าง ดูแลสมาชิก 3 หน่อพร้อมงานบ้าน งานค้าขาย


เด็กก็ได้คุ้นเคยกับความจริงในหลายบทบาทของพ่อแม่


แต่อาจขาดการเข้าสังคมระหว่างเด็กวัยเดียวกันและความกล้าแสดงออกบ้างก็ต้องยอมรั


บและเสริมสร้างลักษณะข้อดีที่ขาดไป


เท่าที่รู้ไม่มีงานวิจัยใดสรุปว่า คนที่เข้าหรือจบจาก


รร.จะประสบความสำเร็จแต่คนที่ไม่ได้เข้ารร.ไม่ประสบความสำเร็จ


แม้ความสำเร็จของแต่ละคนอาจต่างกัน


(ถ้าผู้อ่านพบงานวิจัยทำนองนี้ช่วยแนะนำมาหน่อยนะคะ)


มันอยู่ที่การขวนขวายกระตือรือร้น อยากเรียนรู้มากกว่า


สถานที่เป็นเพียงการอนุมานสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกและพร้อมเพรียงกันในก


ารศึกษา เพราะโลกกว้างใบย่อมนี้มีอะไรให้พบเจออีกมาก หลายสังคม หลากวัฒนธรรม


หลายสิ่งดีและหลากสิ่งไม่ดี ชีวิตก็ต้องเรียนรู้ทุกวัยไม่สิ้นสุดจนหมดลม


พ่อแม่มีหน้าที่สร้างภูมิต้านทานให้พวกเขาต่างหากค่ะ


บ่มเพาะพื้นฐานจิตใจด้านคุณธรรม ความดี


ด้านความรู้ความสามารถก็ไม่จำกัดให้เป็นหน้าที่ของ รร.เท่านั้นนะคะ


ผู้ปกครองมีส่วนร่วมได้ยิ่งดีค่ะ

สำหรับพ่อแม่ที่ต้องทำงาน ไม่มีเวลา หรือไม่รู้จะสอนอะไรก็มีรร.เป็นทางเลือก


พ่อแม่ที่มีเวลา อยากสอนเอง (การจัดการเรียนการสอนเองโดยครอบครัว /บ้านเรียน /


homeschool) หรือไม่มี รร.ที่ไว้ใจก็เลือกเส้นทางนี้ก็มีกฎกระทรวงศึกษาฯ


ออกมาดูแลตรวจตราให้มีมาตรฐานค่ะ เห็นไหมคะ? ทุกคนก็มีทางเลือกด้วยกันทั้งนั้น


จะทำหรือไม่ ทำเหมือนคนส่วนใหญ่หรือไม่ทำเหมือนคนส่วนใหญ่


เพราะมันเป็นเพียงทรรศนะหรือมุมมองเท่านั้น แต่ละคนใช้วิจารณญาณภายใต้ความคิด


ความรู้สึก ความเหมาะสม


และประสบการณ์ของแต่ละครอบครัวเป็นกลางจะได้ประโยชน์มากกว่าการเถียงกันให้เธ


อคิดเหมือนฉัน เราคิดเหมือนกันนะ อะไรทำนองนั้น


ตราบใดที่ไม่ผิดหลักการศาสนาก็คงไม่ต้องหาข้อสรุป!


(แต่ถกให้แตกความคิดเพื่อสร้างสรรค์ก็น่าทำค่ะ)


จะว่าไปแล้วทั้งรร.และเรียนแบบส่วนตัวอย่างบ้านเรียนก็มีข้อดี ข้อเด่น


ข้อด้อยกันทั้งนั้น เพราะเด็กแต่ละคนในแต่ละครอบครัวอาจไม่เหมาะสมทั้งหมด


มีหลายปัจจัย เช่น ความเข้าเรื่องโฮมสคูล ความตั้งใจที่จริงจัง


ลักษณะอุปนิสัยของเด็กและครอบครัว สิ่งแวดล้อม สถานภาพทางการเงิน อาชีพ


ที่สำคัญพ่อแม่ต้องมีเวลาให้ลูกตลอดจนการสอดแทรกคำสอนอิสลามในวิถีชีวิตลงไปใน


แต่ละกิจกรรมของเด็ก ฯลฯ ส่วนข้อเสียเด่นๆ คงหนีไม่พ้น


เรื่องการเข้าสังคมซึ่งเป็นเรื่องจริงที่พ่อแม่ต้องแก้ไขค่ะ ด้วยการพาเด็กไปทำกิจกรรม


สร้างเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่ดี เพื่อนหลากวัย อาจมีญะมาอะฮฺเด็กดีๆ ไว้ประจำสักที่ก็ได้ค่ะ


ทุกอย่างไม่ว่าใครเลือกอะไรล้วนเป็นอมานะฮฺของเราที่ทำจากใจสู่หัวใจดวงน้อย


ขออัลลอฮฺทรงช่วยเหลือทุกคนและมอบหมายต่อพระองค์ เพราะพระองค์ทรงรู้ดีที่สุดค่ะ


การที่พ่อแม่จะหารร.สักแห่งที่ปลอดภัยจากสิ่งผิดหลักการ


มีบรรยากาศความเป็นมุสลิมสูงคงหายากเต็มที ผู้เขียนเชื่อนะคะ


ไม่ว่าเลือกอย่างไหนก็ล้วนอยู่ภายใต้กฎเดียวกันคือความรัก


ความเป็นห่วงและอยากเลือกสิ่งดีที่สุดแก่ลูก สมมตินะคะ ถ้ามีรร.ที่ดีมากสักแห่ง


แต่อยู่ไกลจัง บางคนอาจยอมเดินทางไกล ลูกก็จะโตในรถ


สิ่งที่เห็นรายทางคือสิ่งที่เติบโตมาพร้อมกับเค้าซึ่งอาจเสี่ยงมากโข


บางคนอาจย้ายบ้านไปอยู่ใกล้รร. แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ทำได้


ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่ทำไม่ได้ก็คงต้องเลือกรร.ที่เดินทางสะดวก


มีทั้งพื้นที่และเวลาให้ละหมาด อนุญาตให้แต่งกายแบบมุสลิมได้


แม้อาจจะไม่ดั่งใจเราทั้งหมดแต่ถ้าโดยรวมไม่มีสิ่งหะรอมก็ขอให้เลือกด้วยการศึกษาหาข้


อมูล พูดคุยกับรร. สร้างมิตรภาพกับครู สังเกตเด็กนักเรียนคนอื่นๆ


และอย่าลืมปรึกษาผู้ทรงสร้างผู้ทรงกำหนดทุกสภาพการณ์นะคะ




อาจทดลองในเบื้องต้นก่อนแล้วค่อยว่ากันอีกหน่อยจะย้ายรร.หรือหันมาทดลองทำบ้านเรียนบ้างก็ได้ ใครคิดว่าปล่อยลูกไปรร.ก็สบาย ต้องหันมาทางนี้ค่ะ


ประสบการณ์ตัวเองรู้สึกว่าต้องสอดส่องดูแลเอาใจใส่พูดคุยกับทางครู-รร. มากยิ่งขึ้น


เพราะเราไม่รู้อะไรที่เข้าตา เข้าหูลูกบ้างระหว่างอยู่ที่รร.


เราจะได้ข้อมูลลูกยามที่ไม่ได้อยู่กับเรา ข้อที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เสริมเพิ่มเติม


มิใช่ผลักภาระหน้าที่ให้ครูทั้งหมด ดูจะไม่ยุติธรรมเอาซะเลย


หรือกรณีจัดบ้านเรียนเองก็ต้องสร้างกลุ่มก้อนที่มีแนวคิดเดียวกันไว้เพื่อแลกเปลี่ยนนานา


การสอนการเรียนรู้ ปรึกษาหารือเป็นข้อมูลเกื้อกูลกัน


ยังไง..ยังไงก็เรียกว่าต้องมีญะมาอะฮฺไว้ปรึกษากันและกันไม่ว่าจะพึ่งโรงเรียนหรือพึ่งบ้านเรียน
 
 
Thanks for the posted to http://www.baanmuslimah.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น